ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

หน้าที่ ๔๓๒-๔๓๕.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

                                                                 ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม ว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นสาวกล่วงไปชาติหนึ่งแล้วกลับไม่เป็นสาวกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๐๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ แล้วในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ เพื่อความตรัสรู้ในอนาคต” มีอยู่จริง มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ‘เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑- รู้ธรรมทั้งปวง๒- มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๑- ละธรรมทั้งปวง๑- ได้สิ้นเชิง หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง แล้วจะพึงอ้างใครเล่า @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๒}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

                                                                 ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

เราไม่มีอาจารย์๑- เราไม่มีผู้เสมอเหมือน เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเองเพียงผู้เดียว เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสได้แล้วในโลก เราจะไปเมืองหลวงแห่งชาวกาสี ประกาศธรรมจักร ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน’ อุปกาชีวกกราบทูลว่า ‘อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ’ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มี พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วใน ธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’ @เชิงอรรถ : @ อาจารย์ ในที่นี้หมายถึงอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๑/๑๗, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๕/๓๑๑, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๔๑/๔๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๓}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

                                                                 ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แส่งสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจ เราละได้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรให้เจริญ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ทำให้เจริญแล้ว”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒-๒๓, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๙๓-๕๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๔}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

                                                                 ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
นิยาโมกกันติกถา จบ
๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์๑- อีกเรื่องหนึ่ง
[๔๐๖] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๔ ฯลฯ เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔ ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ฯลฯ ศรัทธา ๔ ฯลฯ วิริยะ ๔ ฯลฯ สติ ๔ ฯลฯ สมาธิ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ เวทนา ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๙๓ หน้า ๔๑๐ ในเล่มนี้ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗) @ เพราะมีความเห็นว่า อรหัตตมัคคัฏฐบุคคล (บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค) ยังมีโอกาสที่จะทำให้ผลเบื้องต่ำ ๓ @คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล เกิดขึ้นได้อีก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๓๒-๔๓๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=37&page=432&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=11816 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=37&A=11816#p432 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๓๒-๔๓๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]