ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

หน้าที่ ๒๐๓-๒๐๔.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นไฉน ฯลฯ๑- บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างนี้ [๑๗๐] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวก๒- เป็นไฉน ต้นไม้ ๔ ชนิด คือ ๑. ต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม ๒. ต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม ๓. ต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อน๓- แวดล้อม ๔. ต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม ๒. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม ๓. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม ๔. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้มี ศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม่เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๑๖๘ @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๙/๑๖๕-๑๖๖ @ ต้นไม้เนื้ออ่อน แปลจากบาลีว่า เผคฺคุ ซึ่งโดยทั่วไปแปลว่า กระพี้ แต่ในอรรถกถาแก้เป็น นิสฺสาโร เผคฺคุรุกฺโข @หมายถึงต้นไม้มีกระพี้ แต่ปราศจากแก่น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐๙/๓๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๓}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม แม้บริษัทของเขาก็ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้น ไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้ เนื้ออ่อนแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม แม้บริษัทของเขาเป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๗๑] บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณเลื่อมใสในรูป๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปที่สูง รูปที่ผอม รูปที่อ้วน รูปที่มีอวัยวะสมส่วน ถือเอาประมาณในรูปนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือรูปเป็น ประมาณเลื่อมใสในรูป บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถือเอาประมาณในเสียงนั้นที่ผู้อื่นกล่าวสรรเสริญ ที่ผู้ อื่นชมเชย ที่ผู้อื่นกล่าวยกย่อง ที่ผู้อื่นกล่าวสรรเสริญสืบๆ กันมาแล้ว เกิดความ เลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง [๑๗๒] บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณเลื่อมใสในความเศร้าหมอง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นจีวรเศร้าหมอง บาตรเศร้าหมอง เสนาสนะ เศร้าหมอง หรือเห็นทุกกรกิริยาต่างๆ ถือเอาประมาณในความเศร้าหมองนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณเลื่อมใสใน ความเศร้าหมอง บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณเลื่อมใสในธรรม เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๕/๑๐๘-๑๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๒๐๓-๒๐๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=36&page=203&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=36&A=5592 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=36&A=5592#p203 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 36 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๓-๒๐๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]