ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

หน้าที่ ๑๙๒-๑๙๓.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก บุคคล ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก (๔) บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๖๐] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวก๑- เป็นไฉน หม้อ ๔ ชนิด คือ ๑. หม้อเปล่าแต่ปิดฝา ๒. หม้อเต็มแต่เปิดฝา ๓. หม้อเปล่าและเปิดฝา ๔. หม้อเต็มและปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา ๒. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา ๓. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา ๔. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา บุคคล ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่ เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน หม้อเต็มแต่เปิดฝา @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๓/๑๕๗-๑๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๒}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคล เช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหม้อ เปล่าและเปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และ เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน หม้อเต็มและปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๖๑] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวก๑- เป็นไฉน ห้วงน้ำ ๔ ชนิด คือ ๑. ห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก ๒. ห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น ๓. ห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น ๔. ห้วงน้ำลึกและเงาลึก บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก ๒. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น ๓. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น ๔. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๔/๑๕๙-๑๖๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๙๒-๑๙๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=36&page=192&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=36&A=5278 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=36&A=5278#p192 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 36 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๒-๑๙๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]