ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๗.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๔๔] บุคคลผู้มีแต่โทษ๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรมที่ มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีแต่โทษ [๑๔๕] บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนมาก๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษ เป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทษเป็นส่วนมาก [๑๔๖] บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษ เป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย [๑๔๗] บุคคลผู้ไม่มีโทษ๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วย วจีกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีโทษ [๑๔๘] บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู๒- เป็นไฉน บุคคลใดบรรลุธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู [๑๔๙] บุคคลผู้เป็นวิปจิตัญญู๒- เป็นไฉน บุคคลใดเมื่อเขาอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดาร จึงบรรลุธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นวิปจิตัญญู @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๕/๒๐๓-๒๐๔ @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๘๖}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๕๐] บุคคลผู้เป็นเนยยะ๑- เป็นไฉน บุคคลใดบรรลุธรรมโดยลำดับอย่างนี้ คือ โดยการแสดง การถาม การ มนสิการโดยแยบคาย การเสพ การคบ การเข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้เป็นเนยยะ [๑๕๑] บุคคลผู้เป็นปทปรมะ๑- เป็นไฉน บุคคลใดฟังก็มาก กล่าวก็มาก ทรงจำก็มาก บอกสอนก็มาก แต่ไม่ได้บรรลุ ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปทปรมะ [๑๕๒] บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว๒- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว บุคคล นี้เรียกว่า ผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว [๑๕๓] บุคคลผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง๒- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาก็ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง [๑๕๔] บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว๒- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว [๑๕๕] บุคคลผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว๒- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว บุคคล นี้เรียกว่า ผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว [๑๕๖] ในบทมาติกานั้น บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก๓- เป็นไฉน ๑. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อยและไม่มีประโยชน์ ทั้งหมู่ ผู้ฟังก็ไม่ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้นับ ว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒ @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๒/๒๐๑-๒๐๒ @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๙/๒๐๗-๒๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๘๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=36&page=186&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=36&A=5103 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=36&A=5103#p186 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 36 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]