ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๕๐๓-๕๐๔.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

                                                                 ๓. ติกนิทเทส

ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปริยาปันน- ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (๓๑) ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยยานิกปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลใน ภูมิ ๓ ที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยยานิก- ปัญญา (๓๒) ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓ ที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยตปัญญา (๓๓) ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สอุตตรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุตตรปัญญา (๓๔) บรรดาปัญญาเหล่านั้น อัตถชาปิกปัญญา เป็นไฉน ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ อรหันต์ผู้กำลังทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถชาปิก- ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ อรหันต์ ในเมื่ออภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา (๓๕) ญาณวัตถุหมวดละ ๒ มีด้วยประการฉะนี้
ทุกนิทเทส จบ
๓. ติกนิทเทส
[๗๖๘] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลาย๑- ที่ต้องจัดการ ด้วยปัญญา หรือในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ได้ กัมมัสสกตาญาณ๒- หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ๓- ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๓๘ @ ญาณรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน คือ ทำดีได้ดี ทำชัวได้ชั่ว (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐) @ สัจจานุโลมิกญาณ คือ วิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ เพราะอนุโลมตามสัจจะ ๔ ประการ @มีรูปไม่เที่ยงเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๓}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์]

                                                                 ๓. ติกนิทเทส

ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้ ๑- ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้ ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม๑- มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา เป็นไฉน ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลายที่ต้องจัดการ ด้วยปัญญา ในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลได้ฟังจากผู้อื่น ได้ กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้ ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้ ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (๑) [๗๖๙] ทานมยปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา สีลมยปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (๒) [๗๗๐] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมปาติโมกขสังวร๒- นี้เรียกว่า อธิสีลปัญญา (๓) @เชิงอรรถ : @๑-๑ ตรงกับคำบาลีว่า ขนฺตึ ทิฏฺฐึ รุจึ มุทึ เปกฺขํ ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺตึ (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐) @ ศีล คือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท @ทั้งหลาย (วิสุทฺธิ. ๑/๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๐๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๐๓-๕๐๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=503&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=14207 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=14207#p503 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๐๓-๕๐๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]