ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๔๕๙-๔๘๐.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. เหตุวาร

๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
๑. สังคหวาร
[๗๑๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ) ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ) ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ) ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา๑- ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสังคหวาร
๒. สัจจวาร
[๗๑๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกข์ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขสมุทัยชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสัจจวาร
๓. เหตุวาร
[๗๒๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ.อ. ๗๑๘/๔๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๕๙}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๕. ปฏิจจสมุปปาทวาร

ความรู้ในเหตุชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในผลของเหตุชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าเหตุวาร
๔. ธัมมวาร
[๗๒๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว ความรู้ในธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเกิดแล้ว มี แล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะธรรมเหล่าใด ความรู้ในธรรมเหล่านั้นชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อ ว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่า ธัมมวาร
๕. ปฏิจจสมุปปาทวาร
[๗๒๒] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความรู้ในชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งชรามรณะชื่อ ว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน การกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๒๓] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๐}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. กุสลวาร

ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้ ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้ในนามรูป ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน ความดับแห่งสังขารชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับ แห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติ- ปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปฏิจจสมุป- ปาทวาร
๖. ปริยัตติวาร
[๗๒๔] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้นรู้ แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปริยัตติวาร
สุตตันตภาชนีย์ จบ
๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. กุสลวาร
[๗๒๕] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๑}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. กุสลวาร

สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาวธรรม เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้ เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๒๖] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิด ขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะ นิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณ เหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๒}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. กุสลวาร

จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยรูปาวจรกุศลจิต
[๗๒๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม- ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยอรูปาวจรกุศลจิต
[๗๒๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ ได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตน- สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๓}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๒. อกุสลวาร

นิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณ เหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยโลกุตตรกุศลจิต
[๗๒๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า) อยู่ในสมัยใด ในสมัย นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
๒. อกุสลวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยอกุศลจิต
[๗๓๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๔}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๒. อกุสลวาร

จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุต จากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดย มีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต ด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว- ธรรม เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๕}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

๓. วิปากวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอเหตุกกุศลวิปากจิต
[๗๓๒] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะ ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๓] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๖}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

เจตนา จิต สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือ สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่า นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๔] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสม กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๕] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๗}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๖] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสม กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยกามาวจรวิปากจิต
[๗๓๗] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต จากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร- กุศลกรรมโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้ด้วยนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๓๘] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม- ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๖๙}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอรูปาวจรวิปากจิต
[๗๓๙] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ ได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล โยคาวจรบุคคล เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ เพราะ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๐}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยโลกุตตรวิปากจิต
[๗๔๐] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญโลกุตตรกุศลกรรมนั้น นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอกุศลวิปากจิต
[๗๔๑] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๑}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. วิปากวาร

ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๔๒] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือมี โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม ไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น อัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๒}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๔. กิริยาวาร

๔. กิริยาวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอเหตุกกิริยาจิต
[๗๔๓] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภ อารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิบาก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านั้นชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๔๔] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก แห่งกรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง กรรม มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๓}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๔. กิริยาวาร

ขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และ ชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ใน สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยกิริยาจิต
[๗๔๕] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรตคด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ โยคาวจรบุคคลเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ เจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่ เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ฯลฯ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ จตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ ละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๔}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา [๗๔๖] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา ๓ เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกามาวจรกุศล เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกิริยา อัตถปฏิสัมภิทาเกิดขึ้นใน จิตตุปบาทเหล่านี้ และเกิดขึ้นในมรรค ๔ ผล ๔
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๗๔๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๔๘] บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิสัมภิทา เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๔๙] ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๕}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิด วิบากก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ ของอุปาทาน อัตถปฏิสัมภิทาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่ เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส อัตถปฏิสัมภิทาที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ มีทั้งวิตกและวิจาร อัตถปฏิสัมภิทาที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย อุเบกขาก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็น เหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นของ เสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริตตะ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๖}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

นิรุตติปฏิสัมภิทามีปริตตะเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นชั้นกลาง อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้น ประณีตก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ให้ผลไม่แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่มีสภาวะชอบและให้ผล แน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี นิรุตติปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือ มีมรรคเป็นอธิบดี อัตถปฏิสัมภิทาไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ปฏิสัมภิทา ๒ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์แต่ไม่ใช่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น อธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี นิรุตติปฏิสัมภิทามีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๒ ที่มีอดีตธรรม เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคต- ธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน และภายนอกตนก็มี นิรุตติปฏิสัมภิทามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่มีธรรม ภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายใน ตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๗}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๕๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ มีเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุและมีเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง ปฏิสัมภิทา ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ปฏิสัมภิทา ๔ เห็นไม่ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ กระทบไม่ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นรูป ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทาที่ เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ จิตบางดวงรู้ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอารมณ์ของอาสวะ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ วิปปยุตจากอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อัตถ- ปฏิสัมภิทากล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ อัตถปฏิสัมภิทาที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุต จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ รับรู้อารมณ์ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นจิต ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเจตสิก ปฏิสัมภิทา ๔ สัมปยุตด้วยจิต ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ปฏิสัมภิทา ๔ เกิดพร้อมกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไปตามจิต ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นภายนอก ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป ปฏิสัมภิทา ๔ กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้อง ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ปฏิสัมภิทา ๓ มีวิตก อัตถปฏิสัมภิทาที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ มีวิจาร อัตถปฏิสัมภิทาที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๗๙}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์]

                                                                 ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นกามาวจร อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็น กามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร และไม่เป็นอรูปาวจรก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ นับเนื่องใน วัฏฏทุกข์๑- อัตถปฏิสัมภิทาที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นเหตุ นำออกจากวัฏฏทุกข์๒- ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ ให้ผลไม่แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อัตถปฏิสัมภิทาที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ปฏิสัมภิทาวิภังค์ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ บาลีว่า ปริยาปนฺนา นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ @(อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๗-๙๘) @ บาลีว่า นิยฺยานิกา คือตัดมูลวัฏฏทุกข์และยึดนิพพานเป็นอารมณ์ นำออกจากวัฏฏทุกข์ @(อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๘๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๕๙-๔๘๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=459&pages=22&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=12962 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=12962#p459 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๕๙-๔๘๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]