ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๑. อภิธรรมภาชนีย์

อิตถินทรีย์ เป็นไฉน ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ หญิง ภาวะหญิงของสตรี นี้เรียกว่า อิตถินทรีย์๑- (๗) ปุริสินทรีย์ เป็นไฉน ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ ชาย ภาวะชายของบุรุษ นี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์๒- (๘) ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ชีวิตินทรีย์หมวดละ ๒ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปก็มี ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป ก็มี ในชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ นั้น ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป เป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป๓- ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป เป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ (๙) สุขินทรีย์ เป็นไฉน ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์๔- (๑๐) ทุกขินทรีย์ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๒/๑๙๔, ๗๑๔/๒๐๕ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๓/๑๙๕, ๗๑๖/๒๐๕ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๔/๑๙๕, ๗๑๘/๒๐๕ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๕๒/๑๒๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙๙}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์]

                                                                 ๑. อภิธรรมภาชนีย์

ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์๑- (๑๑) โสมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์๒- (๑๒) โทมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์๓- (๑๓) อุเปกขินทรีย์ เป็นไฉน ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์๔- (๑๔) สัทธินทรีย์ เป็นไฉน ศรัทธา ความเชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ สัทธาพละ นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์๕- (๑๕) วิริยินทรีย์ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์๖- (๑๖) @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๖๐/๑๕๘ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๘/๒๔ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๕๔/๔๗ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๒/๒๓ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓/๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๐๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=199&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=5663 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=5663#p199 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]