ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๑๖๖.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. ทุกขสัจ

หรือจากบุคคลผู้ที่มุ่งประโยชน์ มุ่งความเกื้อกูล มุ่งความผาสุก มุ่งความเกษมจาก โยคะของเขา เช่น มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสายโลหิต นี้เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์๑- [๒๐๑] การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นไฉน เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้ ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิด ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เป็นผู้มีความเศร้าโศก ความ พิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดาเลย ขอ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้น อย่า ได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความต้องการ นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ ต้องการเป็นทุกข์๒- [๒๐๒] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน รูปูปาทานขันธ์ (กองรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เวทนูปาทานขันธ์ (กอง เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) สัญญูปาทานขันธ์ (กองสัญญาที่เป็นอารมณ์ ของอุปาทาน) สังขารูปาทานขันธ์ (กองสังขารที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) และ วิญญาณูปาทานขันธ์ (กองวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์๓- นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ @เชิงอรรถ : @ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐ @ ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐ @ ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐-๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๖๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=166&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=4733 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=4733#p166 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๖๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]