ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๑๑๗.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒. อายตนวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์

[๑๖๔] คันธายตนะ เป็นไฉน กลิ่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ ด้วยฆานะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธายตนะ๑- (๙) [๑๖๕] รสายตนะ เป็นไฉน รสใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็น ไม่ได้แต่กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสใดที่เห็น ไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะ บ้าง รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสายตนะ๒- (๑๐) [๑๖๖] โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เช่น บุคคลเคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึงถูกต้องโผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยกายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ๓- (๑๑) [๑๖๗] ธัมมายตนะ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง๔- เวทนาขันธ์ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๔/๑๙๒ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๘/๑๙๓ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๔๗/๑๙๖ @ คำบาลีคือ อสงฺขตา ธาตุ แปลว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพาน (อภิ.วิ.อ. ๑๖๗/๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๑๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๑๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=117&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=3348 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=3348#p117 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]