ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๑๑๖.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒. อายตนวิภังค์]

                                                                 ๒. อภิธรรมภาชนีย์

มนายตนะหมวดละ ๓ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
มนายตนะหมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า มนายตนะ (๖) [๑๖๒] รูปายตนะ เป็นไฉน รูปใดเป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ เช่น สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท๑- สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด สว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด ที่เป็นสีต่างๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็น ได้และกระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปใดที่เห็น ได้และกระทบได้ ด้วยจักษุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปายตนะ๒- (๗) [๑๖๓] สัททายตนะ เป็นไฉน เสียงใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ เช่น บุคคลเคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยโสตะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุ บ้าง นี้เรียกว่า สัททายตนะ๓- (๘) @เชิงอรรถ : @ สีหงสบาท สีคล้ายเท้าหงส์ สีแดงปนเหลือง สีแดงเรื่อ หรือ สีแสดก็ว่า @(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๑๖/๑๘๘ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๐/๑๙๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=116&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=3316 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=3316#p116 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]