ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

หน้าที่ ๒๐๒-๒๐๕.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

[๖๓๐] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็น ไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ รสใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่ชิวหาปสาทซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ [๖๓๑] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภรสใด ชิวหาสัมผัสอาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภรสใด เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ ชิวหาสัมผัสมีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลัง เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่า เป็นรสายตนะ
อิตถินทรีย์
[๖๓๒] รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ หญิง ภาวะหญิง ของสตรี รูปนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์๑- @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๒}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

ปุริสินทรีย์
[๖๓๓] รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ ชาย ภาวะชาย ของบุรุษ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์๑-
ชีวิตินทรีย์
[๖๓๔] รูปที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์๑-
กายวิญญัติ
[๖๓๕] รูปที่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับ อยู่ แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายวิญญัติ
วจีวิญญัติ
[๖๓๖] รูปที่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต นี้ เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่ แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๓}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

อากาสธาตุ
[๖๓๗] รูปที่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่าง เปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปนี้ชื่อว่า เป็นอากาสธาตุ
ลหุตารูป
[๖๓๘] รูปที่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น ลหุตารูป
มุทุตารูป
[๖๓๙] รูปที่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป
[๖๔๐] รูปที่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป
อุปจยรูป
[๖๔๑] รูปที่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน ความแรกเกิดแห่งอายตนะ นั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น อุปจยรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๔}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

สันตติรูป
[๖๔๒] รูปที่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน ความเจริญแห่งรูป นั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นสันตติรูป
ชรตารูป
[๖๔๓] รูปที่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์แห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นชรตารูป
อนิจจตารูป
[๖๔๔] รูปที่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความอันตรธานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
กวฬิงการาหารรูป
[๖๔๕] รูปที่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่งมีโอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้นๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกวฬิง- การาหาร รูปนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
อุปาทาภาชนีย์ จบ
ปฐมภาณวารในรูปกัณฑ์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๐๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๐๒-๒๐๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=34&page=202&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=5823 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=34&A=5823#p202 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 34 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๒-๒๐๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]