ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

หน้าที่ ๑๙๘-๑๙๙.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใดที่เป็นสีต่างๆ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่ เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภรูปใด จักขุสัมผัสอาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภรูปใด เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณอาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ จักขุสัมผัส มีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณมีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ พึงเกิด นี้ชื่อว่ารูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ
สัททายตนะ
[๖๒๐] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียง กลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียง กรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้ เคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้ด้วยโสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ๑- [๖๒๑] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียง กลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียง กรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๓/๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์]

                                                                 รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์

เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ โสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ พึงกระทบที่เสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ [๖๒๒] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง เสียง ตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ เสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ [๖๒๓] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภเสียงใด โสตสัมผัสอาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ พึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภเสียงใด เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณอาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ พึงเกิด ฯลฯ โสตสัมผัสมีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนา ที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณมีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น สัททายตนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๙๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๑๙๘-๑๙๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=34&page=198&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=34&A=5703 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=34&A=5703#p198 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 34 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34 https://84000.org/tipitaka/english/?index_34



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๘-๑๙๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]