ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๕๘๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

                                                                 ๖. ปาฏิหาริยกถา

๖. ปาฏิหาริยกถา
ว่าด้วยปาฏิหาริย์
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการ นี้ ปาฏิหาริย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์) ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ) ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือสอนให้เห็นจริง) อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้ แสดงให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เราเรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์ (๑) อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ทายใจตามเหตุที่กำหนดได้ว่า “ใจของท่าน เป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้น จะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของ มนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดา ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็น อันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย นี้ย่อมไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้ที่กำลังตรึกตรองอยู่ ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็น ดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย หาได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๘๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=587&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=17202 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=17202#p587 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๘๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]