ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๓๑๔-๓๑๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส

พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะ มีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
(๒) จริยวาร
วาระว่าด้วยความประพฤติ
[๑๙๖] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความ ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๑๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส

คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการคบหาสัตบุรุษ (และ) ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความ ประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการฟังธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการมนสิการโดยอุบายแยบคาย ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (และ) ด้วยอำนาจ สัทธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความ ประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการ ประคองไว้ ในสัมมัปปธานคือการไม่ทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความ ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ ในสัมมัปปธานคือการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส

พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ ในสัมมัปปธานคือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ ในสัมมัปปธานคือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่ง กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี สภาวะน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่ง สตินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๑๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส

ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ ไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ ฟุ้งซ่านในตติยฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการเห็น อริยสัจคือทุกข์ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมี สภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น อริยสัจคือทุกขสมุทัย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๑๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส

พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น อริยสัจคือทุกขนิโรธ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ ประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่ง วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมี สภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
จารวิหารนิทเทส
แสดงความประพฤติและความเป็นอยู่
[๑๙๗] ความประพฤติและความเป็นอยู่ เป็นอันตรัสรู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง มั่นใจบุคคล ตามที่ประพฤติ ตามที่เป็นอยู่ในฐานะ ที่ลึกซึ้งว่า “ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือว่าจักบรรลุแน่” คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่ ๑. ความประพฤติในอิริยาบถ ๒. ความประพฤติในอายตนะ ๓. ความประพฤติในสติ ๔. ความประพฤติในสมาธิ ๕. ความประพฤติในญาณ ๖. ความประพฤติในมรรค ๗. ความประพฤติในผล ๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๑๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๑๔-๓๑๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=314&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=9163 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=9163#p314 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑๔-๓๑๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]