ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส

(๑) ปเภทคณนนิทเทส
แสดงอินทรีย์ตามหมวดธรรมต่างๆ
[๑๙๕] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติ- ยังคะคือการคบสัตบุรุษ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะ มีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ คือการฟังสัทธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ คือการมนสิการโดยอุบายแยบคาย ฯลฯ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ คือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย อาการ ๒๐ อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือการไม่ทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๑๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส

พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรมที่ เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมไป ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย อาการ ๒๐ อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย อาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือ การพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะ ประคองไว้ ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๑๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส

ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในตติยฌาน ฯลฯ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาน (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกข์ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขสมุทัย ฯลฯ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส

พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะ มีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
(๒) จริยวาร
วาระว่าด้วยความประพฤติ
[๑๙๖] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความ ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๑๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=311&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=9076 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=9076#p311 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]