ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส

โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ ๑- คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้ และในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาใน ศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ ทรงรู้แจ้งซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้ นี้เป็นญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายของพระ ตถาคต
อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสที่ ๖๘ จบ
๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
แสดงอาสยานุสยญาณ
[๑๑๓] ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็น อย่างไร คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทราบอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอนุสัย ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอธิมุตติ๒- ของสัตว์ ทั้งหลาย ทรงทราบชัดภัพพสัตว์(สัตว์ที่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)และอภัพพสัตว์ (สัตว์ที่ไม่ควรบรรลุธรรมในภพนี้) @เชิงอรรถ : @ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๔/๓๕๕-๓๕๖ @ อาสยะ หมายถึงทิฏฐิและยถาภูตญาณอันเป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าสัตว์ อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่อง @ซึ่งยังละไม่ได้ จริต หมายถึงกุศลและอกุศลที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง อธิมุตติ หมายถึงอัธยาศัยของ @เหล่าสัตว์ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๔/๔๙๓-๔๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๗๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

                                                                 ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส

อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับ สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๑- เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มีไม่ เกิดอีกก็มี หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ไม่เกิดอีกก็มิใช่ สัตว์ทั้งหลายผู้ อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดังกล่าวมานี้ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เข้าไปอาศัยที่สุดทั้ง ๒ นี้ ได้อนุโลมขันติ๒- ในสภาวธรรม ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น หรือยถาภูตญาณ๓- พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มีกาม เป็นที่อาศัย น้อมไปในกาม” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติเนกขัมมะว่า “บุคคลนี้เป็น ผู้หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมไปในเนกขัมมะ” ทรงทราบบุคคล ผู้ปฏิบัติซึ่งพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมไปในพยาบาท” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้ หนักในอพยาบาท มีอพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมไปในอพยาบาท” ทรงทราบ บุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งถีนมิทธะว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีนมิทธะเป็นที่ อาศัย น้อมไปในถีนมิทธะ” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอาโลกสัญญาว่า “บุคคลนี้ เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปในอาโลกสัญญา” นี้เป็นฉันทะที่มานอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย [๑๑๔] อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ อนุสัย ๗ ได้แก่ @เชิงอรรถ : @ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) @ อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔) @ ยถาภูตญาณ หมายถึงมัคคญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๗๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=31&page=174&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=5069 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=31&A=5069#p174 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]