ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๗๐-๗๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส

เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ ไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง แม้ด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้ รวมความว่า ฉลาดในธรรมทั้งปวง
ลักษณะผู้มีสติ ๔
คำว่า มีสติ ในคำว่า ภิกษุ ... มีสติดำรงอยู่ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต ๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดสิ่งทั้งหลายที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับสติ ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นมูลเหตุแห่งสติ มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติ ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ชำนาญในสติ ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วในสติ ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะมีอยู่ตามปกติ ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้สงบ ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ระงับ ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส

(มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ) ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม) ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมที่สงบระงับ (กิเสสและความทุกข์) คือ นิพพาน สติ ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ตรัสเรียกว่า สติ๑- ภิกษุเป็นผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยสตินี้ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการได้แล้ว คือ ๑. ทำลายสักกายทิฏฐิได้แล้ว ๒. ทำลายวิจิกิจฉาได้แล้ว ๓. ทำลายสีลัพพตปรามาสได้แล้ว ๔. ทำลายราคะได้แล้ว ๕. ทำลายโทสะได้แล้ว ๖. ทำลายโมหะได้แล้ว ๗. ทำลายมานะได้แล้ว คือ ภิกษุนั้นทำลายบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพ ใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ ต่อไปได้แล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔-๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๗๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๗๐-๗๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=70&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=2011 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=2011#p70 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๐-๗๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]