ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๕๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑. อชิตมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า กระแสทั้งหลาย ในคำว่า กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง ได้แก่ กระแสตัณหา กระแสทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา คำว่า ในที่ทั้งปวง ได้แก่ ในอายตนะทั้งปวง คำว่า ย่อมไหลไป ได้แก่ ย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไป อธิบายว่า กระแสจากตา ย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปในรูป กระแสจากหู ย่อมไหลไป ฯลฯ ในเสียง กระแสจากจมูกย่อมไหลไป ฯลฯ ในกลิ่น กระแส จากลิ้นย่อมไหลไป ฯลฯ ในรส กระแสจากกายย่อมไหลไป ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ กระแสจากใจ ย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปในธรรมารมณ์ คือ รูปตัณหาย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปทางตา สัททตัณหาย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปทางหู คันธตัณหาย่อมไหลไป ฯลฯ ทางจมูก รส ตัณหาย่อมไหลไป ฯลฯ ทางลิ้น โผฏฐัพพตัณหาย่อมไหลไป ฯลฯ ทางกาย ธัมมตัณหาย่อมไหลไป คือ ซ่านไป หลั่งไหล เป็นไปทางใจ รวมความว่า กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่ง พยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง คำว่า อชิตะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านอชิตะทูลถาม ดังนี้ คำว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า อะไรเป็นเครื่องขวาง เครื่องกั้น คือ เครื่องป้องกัน รักษา คุ้มครองกระแสทั้งหลาย รวมความว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๕๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๕๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=53&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=1492 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=1492#p53 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]