ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๔๖๙-๔๗๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๔๗] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๗) คำว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย อธิบายว่า คำว่า เครื่องข้อง เบ็ด เหยื่อ ความเกี่ยวข้อง ความพัวพัน นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คำว่า มีความสุขน้อย อธิบายว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างเหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สุข โสมนัส อันใดแล อาศัยกามคุณ ๕ นั้นเกิดขึ้น โสมนัสนี้ เรียกว่า กามคุณอันเป็นสุข๑- สุขนี้น้อย คือ เล็กน้อย หน่อยเดียว เลวทราม ลามก สกปรก รวมความว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย คำว่า ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก อธิบายว่า กามทั้งหลาย พระผู้- มีพระภาคตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มี โทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เปรียบเหมือนหลุ่มถ่านเพลิง เปรียบเหมือนความฝัน เปรียบเหมือนของที่ยืมมา เปรียบเหมือนผลไม้คาต้นเปรียบ @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๒๙๙-๓๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๖๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ตติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

เหมือนเขียงหั่นเนื้อ เปรียบเหมือนหอกหลาว เปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก ใน กามนี้มีความคับแค้นมาก มีโทษอย่างยิ่ง๑- รวมความว่า ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก คำว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว คำว่า ก้อนเหล็ก เบ็ด เหยื่อ ความเกี่ยวข้อง ความผูกพัน ความพัวพัน นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คำว่า ว่า เป็นคำสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความ สัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ว่า นี้เป็นคำเชื่อม บทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ผู้มีปัญญา ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลสได้ คำว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว อธิบายว่า ผู้มีปัญญารู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า เป็นดุจขอเหล็ก เป็นดุจเบ็ด เป็นดุจเหยื่อ เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องพัวพัน รวม ความว่า ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดุจขอเหล็กแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด [๑๔๘] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ทำลายสังโยชน์แล้ว เหมือนสัตว์น้ำทำลายข่าย และเหมือนไฟไหม้เชื้อมอดหมดไปไม่กลับมา จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๘) @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๖/๑๓๔, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓/๗-๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๗๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๖๙-๔๗๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=469&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=13576 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=13576#p469 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๖๙-๔๗๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]