ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๔๓๔-๔๓๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ ฯลฯ เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ ฯลฯ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่ อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง๑- คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีอันตรายทั้งปวงได้แล้ว รวมความว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว คำว่า พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น อธิบายว่า พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้น พึงมีใจแช่มชื่น คือ มีใจยินดี ร่าเริง เบิกบาน มีใจสูง ปลาบปลื้มใจ ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป กับสหายผู้มีปัญญารักษาตนนั้น คือ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า มีสติ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีสติ คือ ประกอบ ด้วยสติอันเป็นปัญญารักษาตน ระลึก ตามระลึกถึงกรรมที่ทำ คำที่พูดไว้นานแล้วได้ รวมความว่า พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก- สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น [๑๓๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่พระองค์เดียว ฉะนั้น (๒) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒๘/๔๒๔-๔๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

คำว่า ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน อธิบายว่า ถ้าบุคคล ไม่พึงได้ คือ ไม่พึงได้รับ ไม่พึงสมหวัง ไม่พึงประสบสหายผู้มีปัญญารักษาตน คือ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มี ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา รักษาตน คำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ ในคำว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็น นักปราชญ์ ได้แก่ เที่ยวไปร่วมกันได้ คำว่า เป็นสาธุวิหารี อธิบายว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ด้วย นิโรธสมาบัติ ด้วยผลสมาบัติชื่อว่าสาธุวิหารี๑- คำว่า เป็นนักปราชญ์ ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี ปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวม ความว่า เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ คำว่า เหมือนพระราชา ทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่ พระองค์เดียว ฉะนั้น อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตัดความกังวลในการครอง เรือนได้ทั้งหมด ความกังวลด้วยบุตรและภรรยา ความกังวลด้วยญาติ ความกังวล ด้วยมิตรและอำมาตย์แล้ว ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสาวะ ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความกังวลแล้ว ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปรูปเดียว เหมือนกษัตริย์ ผู้ได้รับ มุรธาภิเษกเป็นพระราชา ชนะสงคราม กำราบปัจจามิตร ได้รับอธิปไตย มีพระคลัง บริบูรณ์แล้ว ทรงสละแคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง และพระนครที่มีเงิน ทองมากมาย ทรงปลงพระเกสาและพระมัสสุแล้ว ทรงครองผ้ากาสาวะ เสด็จ ออกผนวชจากพระราชวังเป็นบรรพชิต ทรงเข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความกังวล ทรง ประพฤติอยู่ คือ ประทับอยู่ ทรงเปลี่ยนอิริยาบถ ทรงเป็นไป ทรงรักษาพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังชีวิตให้ดำเนินไปลำพังพระองค์เดียว ฉะนั้น รวมความว่า เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้น ที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่พระองค์เดียว ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๓๑/๔๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ทุติยวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว ฉะนั้น [๑๓๓] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้ บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ)ผู้เสมอกัน ถ้าบุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึงเป็นผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ ประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๓) คำว่า โดยแท้ ในคำว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้ นี้เป็นคำกล่าว นัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าว โดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ อย่าง เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำ กล่าวโดยไม่ผิด คำว่า โดยแท้นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว คำว่า สหายสัมปทา อธิบายว่า สหายผู้เพียบพร้อมด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ฯลฯ ด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ฯลฯ ด้วยวิมุตติ- ขันธ์อันเป็นอเสขะ ฯลฯ ด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ เรียกว่า สหายสัมปทา คำว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทาโดยแท้ อธิบายว่า เราสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณสหายสัมปทา รวมความว่า เราสรรเสริญสหายสัมปทา โดยแท้ คำว่า บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ)ผู้เสมอกัน อธิบายว่า สหาย ผู้ประเสริฐด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ สหายผู้เสมอกัน คือผู้เช่นเดียวกัน จึงควรคบหา คือ ควรคบ ควรนั่งใกล้ ควรไต่ถาม ควรสอบถาม รวมความว่า บุคคลควรคบสหายผู้ประเสริฐสุด (หรือ)ผู้เสมอกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๓๔-๔๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=434&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=12534 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=12534#p434 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๓๔-๔๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]