ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๔๐๒-๔๐๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

[๑๒๒] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (๒) คำว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง อธิบายว่า คำว่า ความเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง ๒ อย่าง คือ ๑. ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น ๒. ความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ เห็นสตรีหรือกุมารี ผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม เพียบพร้อม ด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง ครั้นพบเห็นแล้ว ย่อมแยกถือว่า ผมงาม หน้างาม นัยน์ตางาม หูงาม จมูกงาม ริมฝีปากงาม ฟันงาม ปากงาม คองาม นมงาม อกงาม ท้องงาม เอวงาม ขาอ่อนงาม แข้งงาม มืองาม เท้างาม นิ้วงาม เล็บงาม คือ ครั้นพบเห็นแล้ว ก็พอใจ พร่ำเพ้อถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพัน ด้วยความกำหนัด นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น ความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ได้ยินว่า “ในหมู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น มีสตรี หรือ กุมารี รูปงาม น่าดู น่าชม เพียบพร้อมด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง” ครั้น ได้ยิน ได้ฟังแล้ว ก็พอใจ พร่ำเพ้อถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพันด้วยความกำหนัด นี้ชื่อว่าความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยิน คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ความรักด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร คือ วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือ ว่าเป็นของเราด้วยสัดส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าเป็นของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านี้ว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ของเรามีปริมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ซึ่งจำแนกได้ ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง ความ ถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่าเป็นจริง เห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ คำว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง อธิบายว่า เพราะความ เกี่ยวข้อง เพราะการเห็นเป็นปัจจัย และเพราะความเกี่ยวข้องเพราะการได้ยินเป็น ปัจจัย ความรักด้วยอำนาจตัณหา และความรักด้วยอำนาจทิฏฐิย่อมมี คือ มีขึ้น เกิด เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏ รวมความว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มี ความเกี่ยวข้อง คำว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก อธิบายว่า คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไป อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริต ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๑/๘๐-๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิด ภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง พวกราชบุรุษจับบุคคลนั้นได้ จึงทูลแสดงแก่พระ ราชาว่า “ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร ประพฤติชั่ว ขอจงทรงลงอาญาตามที่ทรงพระราช ประสงค์แก่บุคคลนี้เถิด” พระราชาย่อมทรงบริภาษบุคคลนั้น เพราะการบริภาษเป็น ปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัสบ้าง ความกลัว ทุกข์และโทมนัสนี้ของเขาเกิดจาก อะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย พระราชาไม่ทรงพอพระทัยแม้เพียงเท่านั้น ทรงให้จองจำบุคคลนั้นด้วยเครื่อง จองจำคือขื่อคาบ้าง เครื่องจองจำคือเชือกบ้าง เครื่องจองจำคือโซ่ตรวนบ้าง เครื่อง จองจำคือหวายบ้าง เครื่องจองจำคือเถาวัลย์บ้าง เครื่องจองจำคือคุกบ้าง เครื่อง จองจำคือเรือนจำบ้าง เครื่องจองจำคือหมู่บ้านบ้าง เครื่องจองจำคือนิคมบ้าง เครื่อง จองจำคือเมืองบ้าง เครื่องจองจำคือรัฐบ้าง เครื่องจองจำคือชนบทบ้าง โดยที่สุด ทรงมีพระราชโองการว่า “พวกมันออกไปจากที่นี่ไม่ได้” บุคคลนั้นย่อมเสวยทุกข์และ โทมนัส เพราะถูกจองจำเป็นปัจจัยบ้าง ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิด มาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความ เพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจ ความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย พระราชาไม่ทรงพอพระทัยแม้เพียงเท่านั้น ทรงให้ปรับทรัพย์ของเขา ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ๑๐๐,๐๐๐ บ้าง บุคคลนั้นก็เสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการหมด เปลืองทรัพย์เป็นปัจจัย ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็น ปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย พระราชาไม่ทรงพอพระทัยเพียงเท่านั้น ทรงรับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการ ต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือ บ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและ จมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุด ไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบ หนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอวทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยว หนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือ ไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัด กินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัดศีรษะบ้าง บุคคล นั้นย่อมเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการลงโทษเป็นปัจจัย ความกลัว ทุกข์และ โทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรม ของตน พวกนายนิรยบาล ก็ลงโทษ มีการจองจำ ๕ อย่าง คือ ๑. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่มือขวา ๒. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่มือซ้าย ๓. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่เท้าขวา ๔. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่เท้าซ้าย ๕. เอาหลาวเหล็กร้อนตรึงที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนาอย่างเผ็ดร้อนในนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาป กรรมนั้นยังไม่หมดสิ้นไป ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็น ปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

พวกนายนิรยบาลให้เขานอนลงแล้วถากด้วยผึ่ง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลจับ เขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน พวกนายนิรยบาลจับเขาเทียมรถแล่นกลับ ไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลว โชติช่วง พวกนายนิรยบาล บังคับเขาขึ้นลง ภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชนโชติช่วงบ้าง พวกนายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะทุ่มลงในโลหกุมภีอันร้อนแดง ลุกเป็นแสงไฟ โชติช่วง เขาถูกต้มเดือดจน ตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางคราวลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวย ทุกขเวทนากล้าอย่างหนักเผ็ดร้อนในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบ เท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่หมดสิ้นไป ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมา จากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เป็นปัจจัย
ว่าด้วยนรก
พวกนายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก ก็มหานรกนั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ๑- มหานรกอันน่าสยดสยอง แผดเผาสัตว์ให้มีทุกข์ ร้ายแรง มีเปลวไฟ เข้าใกล้ได้ยาก น่าขนลุก น่าพรั่นพรึง น่ากลัว น่าเป็นทุกข์ มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันออก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันตก มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันตก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันออก @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๒๕๐/๒๑๗-๒๑๘, ๒๖๗/๒๓๖, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๔, อภิ.ก. ๓๗/๘๖๘/๔๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านใต้ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านเหนือ มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านเหนือ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านใต้ กองไฟที่น่าสะพรึงกลัว ผุดขึ้นมาจากเบื้องล่าง แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลุกท่วม) ติดหลังคา กองไฟที่น่าสะพรึงกลัว ลุกขึ้นมาจากหลังคา แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลามลง) กระทบถึงพื้น อเวจีมหานรก ทั้งข้างล่าง ข้างบน ด้านข้าง ก็เหมือนกับแผ่นเหล็กที่ถูกไฟเผาลน เร่าร้อนโชติช่วงอยู่เสมอ สัตว์ทั้งหลายที่หยาบช้ามาก ทำกรรมร้ายแรงมากเสมอ เป็นผู้มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว มอดไหม้อยู่ในอเวจีมหานรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตาย ร่างกายของสัตว์ที่อยู่ในนรกเหล่านั้น เหมือนกับไฟที่ไหม้อยู่ ขอเธอจงดูความมั่นคงของกรรมเถิด ไม่มีเถ้าและเขม่าเลย สัตว์นรกทั้งหลายวิ่งไปทางตะวันออก จากตะวันออกนั้น ก็วิ่งไปทางตะวันตก วิ่งไปทางเหนือ จากทางเหนือนั้น ก็วิ่งไปทางด้านใต้ วิ่งไปยังทิศใดๆ ประตูนั้นๆ ก็ปิดเสีย สัตว์เหล่านั้น มีความหวังจะออกไป จึงเที่ยวแสวงหาทางออกอยู่เสมอ สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถจะออกไปจากมหานรกนั้น เพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะสัตว์เหล่านั้นทำกรรมชั่วร้ายไว้มาก ยังให้ผลไม่หมดสิ้น๑- @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๐/๔๘๐-๔๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปฐมวรรค]

                                                                 ๘. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส

ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัวนี้ เกิดแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย ทุกข์ของสัตว์นรกก็ดี ทุกข์ของสัตว์ที่เกิดในกำเนิดเดรัจฉานก็ดี ทุกข์ของสัตว์ ที่เกิดในเปตวิสัยก็ดี ทุกข์ของมนุษย์ก็ดี เกิดมาจากอะไร คือ เกิดขึ้นมาจากไหน บังเกิดมาจากไหน บังเกิดขึ้นมาจากไหน ปรากฏมาจากไหน ความกลัวนี้ ย่อมมี มีขึ้น เกิด เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่เขา เพราะความรักเป็นปัจจัย เพราะความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย เพราะราคะเป็นปัจจัย และเพราะความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเป็นปัจจัย รวมความว่า ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตาม ความรัก คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก อธิบายว่า คำว่า ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ (๑) ความรักด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก อธิบายว่า เราเมื่อเพ่งเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นโทษอันเกิดจากความรัก คือ ความรัก ด้วยอำนาจตัณหา และความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เราเมื่อเพ่งเห็นโทษ อันเกิดจากความรัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจก สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ความรัก ย่อมมีแก่ผู้มีความเกี่ยวข้อง ทุกข์นี้ ย่อมเป็นไปตามความรัก เราเมื่อเพ่งเห็นโทษอันเกิดจากความรัก จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในหน้า ๔๐๒-๔๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๔๐๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๔๐๒-๔๐๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=402&pages=7&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=11598 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=11598#p402 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๐๒-๔๐๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]