ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๒๗๘-๒๗๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส

สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน [๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น เพราะละตัณหาได้ เราจึงเรียกว่า นิพพาน (๕) คำว่า สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้ตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความเพลิดเพลินที่ เป็นเครื่องประกอบ เป็นเครื่องเกี่ยวข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องเศร้าหมอง ของสัตว์โลก สัตว์โลกถูกความเพลิดเพลินนี้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อม เกาะติด เกี่ยวข้อง พัวพันไว้ รวมความว่า สัตว์โลกมีความ เพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้
ว่าด้วยความตรึก ๙ อย่าง
คำว่า ความตรึก ในคำว่า ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น ได้แก่ ความตรึก ๙ อย่าง คือ ๑. ความตรึกในกาม ๒. ความตรึกในความพยาบาท ๓. ความตรึกในความเบียดเบียน ๔. ความตรึกถึงญาติ ๕. ความตรึกถึงชนบท ๖. ความตรึกถึงเทพเจ้า ๗. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๗๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส

๘. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ ๙. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก ๙ อย่าง ความตรึก ๙ อย่างเหล่านี้ เป็นเหตุสัญจร เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไปของสัตว์โลก คือ สัตว์โลกสัญจรไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ด้วยความตรึก ๙ อย่างเหล่านี้ รวมความว่า ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์ โลกนั้น คำว่า ตัณหา ในคำว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่านิพพาน ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน อธิบายว่า เพราะละ คือ เพราะเข้าไปสงบ เพราะสลัดทิ้ง เพราะระงับตัณหาได้ เราจึงเรียก คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า นิพพาน รวมความว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน [๗๙] (ท่านอุทัยทูลถามว่า) ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร วิญญาณจึงดับสนิท ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์ (๖) คำว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร อธิบายว่า สัตว์โลกมีสติสัมปชัญญะ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปอย่างไร รวมความว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร คำว่า วิญญาณจึงดับสนิท อธิบายว่า วิญญาณจึงดับ คือ เข้าไปสงบ ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป รวมความว่า วิญญาณจึงดับสนิท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๗๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๒๗๘-๒๗๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=278&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=8025 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=8025#p278 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๗๘-๒๗๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]