ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๑๙๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส

กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑ ของท่าน ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ ๒ ของท่าน ความหิวกระหายเราเรียกว่าเสนากองที่ ๓ ของท่าน ตัณหาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๔ ของท่าน ถีนมิทธะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๕ ของท่าน ความกลัวเราเรียกว่าเสนากองที่ ๖ ของท่าน วิจิกิจฉาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๗ ของท่าน มักขะและถัมภะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๘ ของท่าน ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิดๆ เราเรียกว่าเสนากองที่ ๙ ของท่าน การยกตนและข่มผู้อื่นเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑๐ ของท่าน มารเอ๋ย เสนาของท่านนี้ มีปกติประหารผู้มีธรรมดำ คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้ แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข๑- เมื่อใด เสนามารทั้งหมดและกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกชน เหล่าใดพิชิตและทำให้ปราชัย ถูกทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วยอริยมรรค ๔ เมื่อนั้น ชนเหล่านั้น เรียกว่า ผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว คำว่า ผู้ไม่มีความทุกข์ อธิบายว่า ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ เป็นความทุกข์ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท เป็นทุกข์ ความทุกข์เหล่านี้ ชนเหล่าใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีความทุกข์ คำว่า ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวัง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความหวังคือตัณหานี้ ชนเหล่าใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ไม่มีความหวัง ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๔๓๙-๔๔๒/๔๑๖, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๒๘/๑๑๕-๑๑๖, ๖๘/๒๑๐, ๑๔๙/๓๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๙๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๙๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=198&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=5755 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=5755#p198 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]