ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๑๔-๑๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๒. มาณวปัญหา ๓. ปุณณกมาณวปัญหา

๓. ปุณณกมาณวปัญหา๑-
ว่าด้วยปัญหาของปุณณกมาณพ
[๖๘] (ท่านปุณณกะทูลถาม ดังนี้) ข้าพระองค์มีปัญหาจะทูลถาม จึงมาเฝ้าพระองค์ ผู้ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ผู้มีปกติเห็นมูล ฤๅษี มนุชะ กษัตริย์ และพราหมณ์จำนวนมากในโลกนี้ อาศัยอะไร จึงพากันบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (๑) [๖๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ) ฤๅษี มนุชะ กษัตริย์ พราหมณ์บางพวกเหล่านี้ จำนวนมากในโลกนี้ พากันบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย ปุณณกะ ชนเหล่านั้นหวังความเป็นอย่างนี้ อาศัยชราจึงพากันบูชายัญ (๒) [๗๐] (ท่านปุณณกะทูลถาม ดังนี้) ฤๅษี มนุชะ กษัตริย์ พราหมณ์บางพวกเหล่านี้ จำนวนมากในโลกนี้ พากันบูชายัญแก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์ ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทในการบูชายัญ ได้ข้ามชาติและชราได้บ้างไหม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (๓) [๗๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ) ชนเหล่านั้นหวัง ชื่นชม มุ่งหวัง จึงพากันบูชายัญ เพราะอาศัยลาภ จึงมุ่งหวังกาม @เชิงอรรถ : @ ดูคำอธิบายในหน้า ๘๓-๑๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๒. มาณวปัญหา ๔. เมตตคูมาณวปัญหา

เราขอกล่าวว่า ชนเหล่านั้นผู้ประกอบการบูชายัญ เป็นผู้กำหนัดยินดีในภพ ข้ามชาติและชราไปไม่ได้ (๔) [๗๒] (ท่านปุณณกะทูลถาม ดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าชนเหล่านั้นผู้ประกอบการบูชายัญ ข้ามชาติและชราไปไม่ได้ด้วยยัญทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามชาติและชราได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (๕) [๗๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ) เรากล่าวว่า บุคคลใดไม่มีความหวั่นไหวในโลกไหนๆ เพราะทราบชัดฝั่งนี้และฝั่งโน้นในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ชื่อว่าข้ามชาติและชราได้แล้ว (๖)
ปุณณกมาณวปัญหาที่ ๓ จบ
๔. เมตตคูมาณวปัญหา๑-
ว่าด้วยปัญหาของเมตตคูมาณพ
[๗๔] (ท่านเมตตคูทูลถาม ดังนี้) ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่า ทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรมพระองค์แล้ว ทุกข์หลายรูปแบบอะไรก็ตามในโลก ทุกข์เหล่านี้เกิดมาจากที่ไหนหนอ (๑) @เชิงอรรถ : @ ดูคำอธิบายในหน้า ๑๑๐-๑๕๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๔-๑๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=14&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=363 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=363#p14 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔-๑๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]