ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๘๘-๘๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า (อานิสงส์) ใดในตน ในคำว่า เห็นอานิสงส์ใดในตน ได้แก่ อานิสงส์ใด ในตน ทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ตน เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ ๒ อย่างแห่งทิฏฐิของตน คือ (๑) อานิสงส์ที่มีในชาตินี้ (๒) อานิสงส์ที่มีในชาติหน้า อานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาตินี้ เป็นอย่างไร คือ ศาสดามีทิฏฐิอย่างใด สาวกก็มีทิฏฐิอย่างนั้น คือ สาวก ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ทำความยำเกรงศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารซึ่งมีศาสดานั้นเป็นต้นเหตุ นี้ชื่อว่าอานิสงส์แห่ง ทิฏฐิที่มีในชาตินี้ อานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาติหน้า เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมหวังผลต่อไปว่า ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ เป็นยักษ์ เป็นอสูร เป็นคนธรรพ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นพระอินทร์ เป็นพระพรหม หรือเป็นเทวดา ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความ หลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ นี้ชื่อว่าอานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาติหน้า เจ้าลัทธิ นั้นเห็น คือ แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูอานิสงส์ ๒ อย่างนี้แห่งทิฏฐิ ของตน รวมความว่า เห็นอานิสงส์ใดในตน
ว่าด้วยสันติ ๓ อย่าง
คำว่า อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น อธิบายว่า สันติ ๓ อย่าง คือ (๑) อัจจันตสันติ(ความสงบโดยส่วนเดียว) (๒) ตทังคสันติ(ความ สงบด้วยองค์นั้นๆ) (๓) สมมติสันติ(ความสงบโดยสมมติ) อัจจันตสันติ เป็นอย่างไร คือ อมตนิพพาน เรียกว่า อัจจันตสันติ คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็น ที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่าอัจจันตสันติ ตทังคสันติ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๘๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส

คือ ผู้บรรลุปฐมฌานก็มีนิวรณ์สงบไป ผู้บรรลุทุติยฌานก็มีวิตกวิจารสงบไป ผู้บรรลุตติยฌานก็มีปีติสงบไป ผู้บรรลุจตุตถฌานก็มีสุขและทุกข์สงบไป ผู้บรรลุ อากาสานัญจายตนสมาบัติก็มีรูปสัญญา๑- ปฏิฆสัญญา๒- นานัตตสัญญา๓- สงบไป ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ก็มีอากาสานัญจายตนสัญญาสงบไป ผู้บรรลุ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ก็มีวิญญาณัญจายตนสัญญาสงบไป ผู้บรรลุเนวสัญญานา- สัญญายตนสมาบัติ ก็มีอากิญจัญญายตนสัญญาสงบไป นี้ชื่อว่าตทังคสันติ สมมติสันติ เป็นอย่างไร คือ ความสงบแห่งทิฏฐิ ๖๒ เรียกว่า สมมติสันติ อนึ่ง สมมติสันติพระผู้มี- พระภาคทรงประสงค์ว่า สันติ ในคาถานี้ คำว่า อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อสันติที่กำเริบ คือ สันติที่ กำเริบทั่ว สะเทือน สั่นไหว หวั่นไหว กระทบกระทั่ง กำหนดแล้ว กำหนดทั่วแล้ว ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา รวมความว่า อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง เชิดชูไว้ (แต่)ไม่ขาวสะอาด เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ใดในตน อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น [๒๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่ายๆ การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น ก็มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง @เชิงอรรถ : @ รูปสัญญา ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๓๒ @ ปฏิฆสัญญา ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๓๒ @ นานัตตสัญญา ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๓๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๘๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๘๘-๘๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=88&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=2644 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=2644#p88 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๘๘-๘๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]