ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๗๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า “โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะ๑- กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตาย แล้วตถาคต๒- เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่จะว่าไม่ เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ”๓- พึงล่วง ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น ทิฏฐิ ความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้อย่างไรเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาสมาทาน ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ น้อมใจเชื่อทิฏฐินั้น ให้เพียบพร้อมอย่างนั้น รวมความว่า พึงก้าวล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า อย่างนี้บ้าง คำว่า ผู้ไปตามความพอใจ ในคำว่า ผู้ไปตามความพอใจ ตั้งอยู่ในความ ชอบใจ อธิบายว่า ผู้นั้นย่อมไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไป ด้วยทิฏฐิของตน ความ ถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน ได้แก่ ผู้นั้นย่อมไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไปด้วยทิฏฐิของตน ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน เหมือนมนุษย์ย่อมไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไป ด้วยยานพาหนะ คือ ช้าง รถ ม้า โค แพะ แกะ อูฐ หรือลา ฉะนั้น รวมความว่า ผู้ไปตามความพอใจ คำว่า ตั้งอยู่ในความชอบใจ ได้แก่ ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อในทิฏฐิของตน ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน รวมความว่า ผู้ไปตามความพอใจ ตั้งอยู่ในความชอบใจ คำว่า เมื่อทำตนให้เพียบพร้อม ได้แก่ ทำตนให้เพียบพร้อม คือ ทำให้บริบูรณ์ ไม่ให้พร่อง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด อธิบายว่า ทำตนให้เพียบพร้อม บริบูรณ์ ไม่ให้พร่อง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด คือ ทำทัศนะนั้นให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นว่า พระศาสดาพระองค์นี้เป็นสัพพัญญู พระธรรมนี้พระผู้มีพระภาคตรัสสอนไว้ดีแล้ว @เชิงอรรถ : @ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (The Soul) (ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙) @ ตถาคต ในที่นี้ เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึง อัตตา ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อนึ่ง อรรถกถาหมายถึง สัตตะ (Being) (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘, ขุ.ม.อ. ๑๖/๑๙๐) @ ดูรายละเอียดจาก ที.สี. (แปล) ๙/๔๒๐/๑๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๗๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๗๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=77&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=2312 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=2312#p77 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]