ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๗-๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑. กามสุตตนิทเทส

[๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ผู้ใดละกามได้ เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก
ว่าด้วยการละกามโดยเหตุ ๒ อย่าง
คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดละกามได้ ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ขวนขวาย อย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม คำว่า ละกามได้ อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- คำว่า ละกามได้ ได้แก่ ละกามได้โดยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) โดยการข่มไว้ (๒) โดยการตัดขาด บุคคลละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก เพราะให้ความยินดีเล็กน้อย จึงละกามได้โดยการข่มไว้ เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เพราะเป็นของทั่วไป แก่คนส่วนมาก จึงละกามได้โดยการข่มไว้ เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เพราะไหม้ ลุกลาม จึงละกามได้โดยการข่มไว้ เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง เพราะมีความ ร้อนมาก จึงละกามได้โดยการข่มไว้ เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน เพราะปรากฏชั่ว เวลาอันสั้น จึงละกามได้โดยการข่มไว้ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑. กามสุตตนิทเทส

เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมมา เพราะเป็นของ ครอบครองชั่วคราวตามกำหนด จึงละกามได้โดยการข่มไว้ เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น เพราะเป็นเหตุ ให้หักและให้ล้ม จึงละกามได้โดยการข่มไว้ เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ เพราะเป็นเครื่อง รองรับการตัดฟัน จึงละกามได้โดยการข่มไว้ เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว เพราะเป็นเครื่อง ทิ่มแทง จึงละกามได้โดยการข่มไว้ เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู เพราะเป็นสิ่งมีภัย เฉพาะหน้า จึงละกามได้โดยการข่มไว้ เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนกองไฟ เพราะเผาผลาญ จึง ละกามได้โดยการข่มไว้
ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ ๑๐ จำพวก
๑. บุคคลกำลังเจริญพุทธานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๒. บุคคลกำลังเจริญธัมมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๓. บุคคลกำลังเจริญสังฆานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๔. บุคคลกำลังเจริญสีลานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๕. บุคคลกำลังเจริญจาคานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๖. บุคคลกำลังเจริญเทวตานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๗. บุคคลกำลังเจริญอานาปานัสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๘. บุคคลกำลังเจริญมรณานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๙. บุคคลกำลังเจริญกายคตาสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๑๐. บุคคลกำลังเจริญอุปสมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๑. กามสุตตนิทเทส

ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ ๘ จำพวก
๑. บุคคลกำลังเจริญปฐมฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๒. บุคคลกำลังเจริญทุติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๓. บุคคลกำลังเจริญตติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๔. บุคคลกำลังเจริญจตุตถฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๕. บุคคลกำลังเจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๖. บุคคลกำลังเจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๗. บุคคลกำลังเจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้ ๘. บุคคลกำลังเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้ โดยการข่มไว้ บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการตัดขาด ๔ จำพวก
บุคคลละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างไร คือ ๑. บุคคลกำลังเจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมละกามอันเป็นเหตุไปสู่อบาย ได้โดยการตัดขาด ๒. บุคคลกำลังเจริญสกทาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างหยาบได้โดยการตัดขาด ๓. บุคคลกำลังเจริญอนาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างละเอียดได้โดยการตัดขาด ๔. บุคคลกำลังเจริญอรหัตตมรรค ย่อมละกามได้หมดสิ้น ไม่เหลือทุกสิ่ง ทุกประการ โดยการตัดขาด บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ผู้ใดละกามได้ คำว่า เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู อธิบายว่า งู เรียกว่า สัปปะ งูชื่อว่าสัปปะ เพราะมีความหมายอย่างไร งูชื่อว่าสัปปะ เพราะเลื้อยไป ชื่อว่าภุชคะ เพราะเลื้อยไป ด้วยขนด ชื่อว่าอุรคะ เพราะไปด้วยอก ชื่อว่าปันนคะ เพราะมุดหัวไป ชื่อว่าสิรีสปะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๗-๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=7&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=184 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=184#p7 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗-๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]