ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๓๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ใน ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) ... ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา) ... ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในวิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) วิญญาณก็ตั้งอยู่ งอกงามในวิญญาณาหารนั้นได้ วิญญาณ ตั้งอยู่งอกงามได้ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปก็มีได้ในที่นั้น ความก้าวลงแห่ง นามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารก็มีได้ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารมีอยู่ ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ก็มีได้ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ต่อไปก็มีได้ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป มีอยู่ในที่ใด เราก็กล่าวว่า ที่นั้น มีความเศร้าโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้นใจ๑-” รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็นอย่างนี้ คำว่า จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง อธิบายว่า กามคุณ ๕ ตรัสเรียกว่า เหตุให้ลุ่มหลง คือ รูปที่รู้ได้ทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เสียงที่รู้ได้ทางหู ... กลิ่นที่รู้ได้ทางจมูก ... รสที่รู้ได้ทางลิ้น ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เพราะเหตุไร กามคุณ ๕ จึงตรัสเรียกว่า เหตุให้ลุ่มหลง เพราะโดย มากเทวดาและมนุษย์ ย่อมหลง ลุ่มหลง หลงงมงายในกามคุณ ๕ เทวดาและมนุษย์ เหล่านั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้หลง ลุ่มหลง หลงงมงาย คือ ถูกอวิชชาทำให้มืดบอด หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงตรัส เรียกว่า เป็นเหตุให้ลุ่มหลง คำว่า จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง ได้แก่ จมลง หมกมุ่น หยั่งลง ดิ่งลง ในเหตุ ให้ลุ่มหลง รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง @เชิงอรรถ : @ สํ.นิ. ๑๖/๖๔/๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=31&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=924 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=924#p31 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]