ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๒๔๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

คำว่า มุนีเว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า ผู้ใดเจริญอริยมรรค ที่มีสมถะเป็นเบื้องต้น ผู้นั้น ย่อมข่มกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว ตั้งแต่ต้น เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้ว พระอรหันต์ย่อมละได้เด็ดขาดทั้งกิเลสเครื่อง ร้อยรัด โมหะ นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญาและทิฏฐิสัญญา ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ รวมความว่า มุนีผู้เว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่อง ร้อยรัด คำว่า มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง อธิบายว่า ผู้ใด เจริญอริยมรรค ที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ผู้นั้น ย่อมข่มความลุ่มหลงได้ตั้งแต่ต้น เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้ว พระอรหันต์ย่อมละได้เด็ดขาดทั้งโมหะ กิเลสเครื่องร้อยรัด นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา และทิฏฐิสัญญา ตัดรากถอน โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น ต่อไปไม่ได้ รวมความว่า มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวกระทบ กระทั่งกันในโลก อธิบายว่า ชนเหล่าใด ถือสัญญา คือ กามสัญญา พยาบาท- สัญญา วิหิงสาสัญญา ชนเหล่านั้น ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ ทำร้ายกัน ด้วย อำนาจสัญญา กล่าวคือ พระราชาทรงวิวาทกับพระราชาก็ได้ กษัตริย์วิวาทกับ กษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ได้ คหบดีวิวาทกับคหบดีก็ได้ มารดา วิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับ บิดาก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่สาว น้องสาวก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่ ชายน้องชายก็ได้ สหายวิวาทกับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้น ก่อการทะเลาะ ก่อการ บาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง และก่อการวิวาทกัน ก่อการมุ่งร้ายเพราะสัญญานั้น ก็ทำร้ายกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง เพราะทำร้ายกันนั้น ชนเหล่านั้นก็เข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง ชนเหล่าใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๔๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=244&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=7286 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=7286#p244 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]