ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ ศีลวัตร รวมความว่า นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความ ไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็ หามิได้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ประสงค์เอาสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ ๑. ทานที่ให้แล้วมีผล ๒. ยัญที่บูชาแล้วมีผล ๓. การเซ่นสรวงมีผล ๔. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ ๕. โลกนี้มี ๖. โลกหน้ามี ๗. มารดามีคุณ ๘. บิดามีคุณ ๙. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ๑- มีอยู่ ๑๐. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตน เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งมีอยู่ในโลก สุตะ ประสงค์เอาเสียงจากผู้อื่น คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ ประสงค์เอากัมมัสสกตาญาณ๒- สัจจานุโลมิกญาณ๓- อภิญญาญาณ๔- สมาปัตติญาณ๕- ศีล ประสงค์เอาปาติโมกขสังวร วัตร ประสงค์เอาธุดงค์๖- ๘ ข้อ คือ ๑. อารัญญิกังคธุดงค์ ๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๓. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ๔. เตจีวริกังคธุดงค์ @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ หมายถึง สัตว์เกิดผุดขึ้น คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย)ก็หายวับไป @ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙) @ กัมมัสสกตาญาณ ญาณที่เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน, เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิด @เสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน หมายถึงสัมมาทิฏฐิ ๑๐ (อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๗๙๓/๕๐๙) @ สัจจานุโลมิกญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ @ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๗๙๓/๕๐๙) @ อภิญญาญาณ ญาณคือความรู้อย่างยิ่งยวดมี ๖ (๑) อิทธิวิธิ (๒) ทิพพโสต (๓) เจโตปริยญาณ @(๔) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (๕) ทิพพจักขุ (๖) อาสวักขยญาณ (ที.สี.(แปล) ๙/๒๓๔-๒๔๘/๗๗-๘๔) @ สมาปัตติญาณ ญาณในสมาบัติ ๘ (ดูเชิงอรรถข้อ ๖/๒๕) @ ดูคำแปลจากข้อ ๑๗/๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๒๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

๕. สปทานจาริกังคธุดงค์ ๖. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ๗. เนสัชชิกังคธุดงค์ ๘. ยถาสันถติกังคธุดงค์ คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความ ไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็ หามิได้ อธิบายว่า บุคคลเป็นผู้บรรลุถึงความสงบภายใน เพียงเพราะสัมมาทิฏฐิ ก็หามิได้ เพียงเพราะการได้ฟังก็หามิได้ เพียงเพราะญาณก็หามิได้ เพียงเพราะศีลก็ หามิได้ เพียงเพราะวัตรก็หามิได้ คือ บรรลุถึงความสงบภายใน โดยเว้นจากธรรม เหล่านี้ก็หามิได้ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นเครื่องประกอบเพื่อบรรลุ เพื่อถึง เพื่อ ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งความสงบภายใน รวมความว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความ ไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้ คำว่า เหล่านี้ ในคำว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อธิบายว่า บุคคลหวังการละธรรมฝ่ายดำโดยกำจัดได้เด็ดขาด หวังการไม่ก่อตัณหาในกุศลธรรม ทั้งหลายในไตรธาตุ บุคคลละธรรมฝ่ายดำ โดยการละได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ และไม่ก่อตัณหาในกุศลธรรมทั้งหลายในไตรธาตุเพราะเหตุใด นักปราชญ์ย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะเหตุเท่านี้ อีกนัยหนึ่ง ธรรมฝ่ายดำ นักปราชญ์ไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น รวมความว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง บุคคลละตัณหา ทิฏฐิ และมานะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุใด นักปราชญ์ย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะเหตุเท่านี้ รวมความว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง บุคคลละปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขารได้เด็ดขาด แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุใด นักปราชญ์ย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะเหตุเท่านี้ รวมความว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๒๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=224&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=6677 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=6677#p224 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]