ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๔๘-๑๔๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๖. ชราสุตตนิทเทส

คำว่า ความยึดถือ ในคำว่า เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือด้วย อำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ ทิฏฐิ๑- ความยึดถือด้วยอำนาจตัณหา เป็นภาวะไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัย กันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา แม้ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ ก็เป็นภาวะไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็น ธรรมดา สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความ ไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่าแน่แท้หรือไม่ ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า ดีละภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้พิจารณาเห็นความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่า แน่แท้”๒- ความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ รวมความว่า เพราะความยึดถือที่ เที่ยงแท้ไม่มีอยู่ คำว่า ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง อธิบายว่า ความเป็น ต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น มีอยู่ ปรากฏ หาได้ สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พอเถอะอานนท์ เธออย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย เราพูดไว้ก่อนแล้วมิใช่ หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากสิ่งที่รักใคร่ พอใจ ทั้งหมด มีอยู่ อานนท์ สิ่งที่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นแล้ว จะต้องแตกสลายไป @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ @ ม.มู. ๑๒/๒๔๓/๒๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๖. ชราสุตตนิทเทส

เป็นธรรมดา ขออย่าได้แตกสลายไปเลย จะพึงหาได้จากที่ไหนในโลกนี้เล่า ข้อนั้น ไม่ใช่ฐานะจะมีได้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะก่อนๆ แปรผันเป็นอื่นไป ขันธ์ ธาตุ อายตนะที่เกิดหลังๆ ก็ย่อมเป็นไป๑-” รวมความว่า ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง คำว่า ดังนี้ ในคำว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้วก็ไม่พึงครองเรือน เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า เห็นดังนี้แล้ว ได้แก่ เห็นแล้ว คือ มองเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น ของเรา ดังนี้ รวมความว่า เห็นดังนี้แล้ว คำว่า ก็ไม่พึงครองเรือน อธิบายว่า พึงตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตร อำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่องการสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้า กาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่ ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน [๔๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย บัณฑิตผู้เป็นพุทธมามกะ รู้ชัดโทษนี้แล้ว ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา @เชิงอรรถ : @ ที.ม. ๑๐/๒๐๗/๑๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๔๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๔๘-๑๔๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=148&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=4404 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=4404#p148 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔๘-๑๔๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]