ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

หน้าที่ ๑๐๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

                                                                 ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถือความหมดจดด้วยอารมณ์ที่รับรู้ สมณพราหมณ์ เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ จับต้องแผ่นดิน จับต้องพืชสีเขียว จับต้องมูลโค จับต้องเต่า เหยียบผาล จับต้องเกวียนบรรทุกงา เคี้ยวกินงาขาว ทาน้ำมันสีขาว เคี้ยวไม้สีฟัน ขาว อาบน้ำชะโลมด้วยดินสอพอง นุ่งผ้าขาว โพกผ้าขาว สมณพราหมณ์เหล่านี้นั้น ชื่อว่าถือความหมดจดด้วยอารมณ์ที่รับรู้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปด้วย อารมณ์ที่รับรู้แล้ว รวมความว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจด ... โดยมรรคอื่น คำว่า ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีลวัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า พราหมณ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด โดยถือความ หมดจดด้วยรูปที่เห็นบ้าง โดยถือความหมดจดด้วยเสียงที่ได้ยินบ้าง โดยถือความ หมดจดด้วยศีลบ้าง โดยถือความหมดจดด้วยวัตรบ้าง โดยถือความหมดจดด้วย อารมณ์ที่รับรู้บ้าง รวมความว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในรูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยิน ศีลวัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้ โดยมรรคอื่น
ว่าด้วยการละบุญและบาป
คำว่า ผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป อธิบายว่า กุสลาภิสังขาร เป็นเหตุให้ เกิดในโลกธาตุ๑- ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตรัสเรียกว่าบุญ อกุศลทุกชนิด ตรัสเรียกว่า สิ่งที่ไม่ใช่บุญ ปุญญาภิสังขาร๒- อปุญญาภิสังขาร๓- และอาเนญชาภิสังขาร๔- เป็นสิ่งที่พราหมณ์ นั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว @เชิงอรรถ : @ โลกธาตุ ๓ ได้แก่กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ @ ปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร @และรูปาวจร (ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖) @ อปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ @อกุศลเจตนาทั้งหลาย (ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖) @ อาเนญชาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นอาเนญชา สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ @กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน @(ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๐๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๐๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=108&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=3240 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=3240#p108 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]