ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

หน้าที่ ๔๙๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต]

                                                                 ๑. ปุสสเถรคาถา

[๙๖๔] ในกาลภายหน้า ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชายกย่องเหล่าภิกษุผู้ไม่ มีลาภ ทั้งจะไม่คบค้าสมาคมกับเหล่าภิกษุผู้รักษาศีลดี ซึ่งเป็นนักปราชญ์ [๙๖๕] จะห่มจีวรสีแดงที่คนป่าชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้ากาสาวะซึ่งเป็นธงชัยของตน บางพวกก็จะห่มจีวรสีขาว ซึ่งเป็นธงชัยของพวกเดียรถีย์ [๙๖๖] ในกาลภายหน้า ภิกษุเหล่านั้นจะไม่มีความเคารพในผ้ากาสาวะ ทั้งจะไม่พิจารณาใช้ผ้ากาสาวะ [๙๖๗] การไม่คิดพิจารณาให้ดี ได้เป็นความเลวร้ายอย่างใหญ่หลวงของพญาช้าง ที่ถูกลูกศรเสียบแทง ถูกทุกขเวทนาครอบงำทุรนทุรายอยู่ [๙๖๘] เพราะครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะ ซึ่งโสณุตตรพรานคลุมร่างไว้ ที่ย้อมดีแล้วเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ได้กล่าวภาษิตที่ประกอบด้วยประโยชน์ในขณะนั้นแหละว่า [๙๖๙] ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะ๑- และสัจจะ จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ผู้นั้นไม่ควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะเลย [๙๗๐] ส่วนผู้ใดพึงคลายกิเลสดุจน้ำฝาด ตั้งมั่นดีแล้วในศีล ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแหละควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะได้ @เชิงอรรถ : @ ความฝึกอินทรีย์ (ขุ.เถร.อ. ๒/๙๖๙/๔๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๙๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๙๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=26&page=498&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=26&A=13851 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=26&A=13851#p498 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 26 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๙๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]