ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

                                                                 ๘. อังคุลิมาลเถรคาถา

[๘๖๓] เมื่อก่อน ข้าพระองค์มีหมู่ทหาร ถือดาบคอยคุ้มครองรักษาอยู่ในพระนคร ซึ่งมีป้อมและซุ้มประตูอย่างแข็งแรง ซึ่งแวดล้อมด้วยกำแพงเป็นวงกลม สูงลิ่ว อยู่อย่างหวาดระแวง [๘๖๔] บัดนี้ ข้าพระองค์มีนามว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา เป็นผู้เจริญ ไม่หวาดระแวง ละความหวาดกลัวภัยเสียได้ มาสู่ป่า เพ่งพินิจอยู่ [๘๖๕] ดำรงมั่นอยู่ในกองศีล เจริญสติและปัญญาอยู่ ได้บรรลุความสิ้นสังโยชน์ทั้งหมดแล้ว โดยลำดับ
๘. อังคุลิมาลเถรคาถา
ภาษิตของพระองคุลิมาลเถระ
(พระองคุลิมาลเถระ ครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยภาษิตว่า) [๘๖๖] ท่านสมณะ ท่านยังเดินอยู่ แต่กลับกล่าวว่า เราหยุดแล้ว และกล่าวหาเราซึ่งหยุดแล้วว่า ไม่หยุด ท่านสมณะ เราขอถามท่านถึงความข้อนี้ที่ว่า ท่านหยุดแล้ว แต่เราซิ ไม่หยุด อย่างไรกัน (พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบองคุลิมาลโจรนั้นด้วยพระคาถาว่า) [๘๖๗] องคุลิมาล เราได้ละทิ้งโทษทัณฑ์ในสัตว์ทั้งมวลอยู่ทุกเมื่อ ส่วนท่านซิไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๘๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

                                                                 ๘. อังคุลิมาลเถรคาถา

(องคุลิมาลโจร กราบทูลว่า) [๘๖๘] เป็นเวลานานหนอที่พระองค์ซึ่งเป็นสมณะ ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกบูชา ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาสู่ป่าใหญ่เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ ข้าพระองค์นั้น ได้สดับพระพุทธภาษิต ซึ่งประกอบด้วยธรรมของพระองค์จะเลิกละบาปตั้งพัน (พระสังคีติกาจารย์ ได้รจนา ๒ ภาษิตเหล่านี้ว่า) [๘๖๙] ครั้นองคุลิมาลโจรกราบทูลแล้ว ก็ได้โยนดาบและอาวุธทิ้งเหวซึ่งทั้งกว้างและลึก ได้ถวายบังคมพระยุคลบาทพระสุคต ได้ทูลขอบวชกับพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้นนั่นเอง [๘๗๐] ทันใดนั้นเอง พระพุทธเจ้า ทรงมีพระกรุณา ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก ได้ตรัสกับองคุลิมาลโจรนั้นว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด เพียงเท่านี้ องคุลิมาลโจรนั้น ก็ได้เป็นภิกษุ (พระองคุลิมาลเถระเกิดปีติโสมนัส จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๘๗๑] ผู้ใด ประมาทแล้วในกาลก่อน ภายหลัง ไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ [๘๗๒] บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดปิดกั้นเสียได้ ด้วยกุศล ผู้นั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๘๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=26&page=482&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=26&A=13406 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=26&A=13406#p482 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 26 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_26 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26 https://84000.org/tipitaka/english/?index_26



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๘๒-๔๘๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]