ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๙๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๖. ปิยวรรค ๑. ตโยชนปัพพชิตวัตถุ

[๒๐๗] เพราะผู้คบค้าสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน การอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นทุกข์ตลอดเวลา เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู การอยู่ร่วมกับนักปราชญ์มีแต่ความสุข เหมือนอยู่ในหมู่ญาติ [๒๐๘] เพราะฉะนั้นแล บุคคลควรคบผู้เป็นปราชญ์ มีปัญญา เป็นพหูสูต มีปกติเอาธุระ มีวัตร๑- เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี เช่นนั้น เหมือนดวงจันทร์โคจรไปตามทางของดาวนักษัตร ฉะนั้น
สุขวรรคที่ ๑๕ จบ
๑๖. ปิยวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
๑. ตโยชนปัพพชิตวัตถุ
เรื่องบรรพชิต ๓ รูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บรรพชิต ๓ รูป ดังนี้) [๒๐๙] บุคคลทำตัวให้หมกมุ่นในกิจที่ไม่ควรหมกมุ่น๒- และไม่หมกมุ่นในกิจที่ควรหมกมุ่น ละเลยสิ่งที่เป็นประโยชน์๓- ติดอยู่ในปิยารมณ์๔- ทะเยอทะยานตามบุคคลผู้ปฏิบัติตนดี @เชิงอรรถ : @ มีวัตร หมายถึงมีศีลวัตร และธุดงควัตร ๑๓ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๓๗) @ กิจที่ไม่ควรหมกมุ่น หมายถึงการเสพอโคจร ๖ อย่าง มีหญิงแพศยาเป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๐) @ สิ่งที่เป็นประโยชน์ หมายถึงไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๐) @ ปิยารมณ์(อารมณ์ที่น่ารัก) หมายถึงกามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๙๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๙๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=97&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=2487 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=2487#p97 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๙๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]