ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๖๙๙-๗๐๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสูตร

[๘๒๘] มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ ก่อนบวชในธรรมวินัยนี้ พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม [๘๒๙] บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั้นแหละ เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญตนว่าเราเป็นผู้ประเสริฐสุด ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่า อยู่ใกล้นิพพาน [๘๓๐] หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
ติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปสูรสูตร๑-
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าปสูระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ปสูรปริพาชกในท่ามกลางพุทธบริษัทดังนี้) [๘๓๑] สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น บุคคลอาศัยศาสดาใดก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ๒- @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๙-๖๙/๑๙๕-๒๑๖ @ ปัจเจกสัจจะ ในที่นี้หมายถึงสัจจะเฉพาะอย่าง เช่น สัจจะที่ว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๙/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๙๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๘. ปสูรสูตร

[๘๓๒] สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด เข้าไปสู่บริษัทแล้ว จับคู่กล่าวหากันและกันว่า เป็นคนพาล สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน อยากได้ความสรรเสริญ ก็กล่าวยกตนว่า เป็นผู้ฉลาด [๘๓๓] คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว) ในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ เป็นผู้เก้อเขินในเมื่อถูกคัดค้านตกไป ย่อมโกรธเคืองเพราะคำนินทา แสวงหาข้อแก้ตัว [๘๓๔] บริษัทผู้พิจารณาปัญหากล่าววาทะของเขาว่า เลว ถูกคัดค้านให้ตกไปแล้ว เขาเสื่อมวาทะไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญเศร้าโศก ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า) เราไปแล้ว [๘๓๕] การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้ บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ [๘๓๖] ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท ได้รับความสรรเสริญเพราะทิฏฐิของตนนั้น เขาย่อมหัวเราะและฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว [๘๓๗] ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความหมดจด ด้วยความวิวาทกันนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๐๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๙. มาคันทิยสูตร

[๘๓๘] คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้ามย่อมได้พบ ฉันใด (เจ้าลัทธิย่อมได้พบเจ้าลัทธิ ฉันนั้น) ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคตมิได้มีเพื่อการรบ [๘๓๙] ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิดไม่มีในธรรมวินัยนี้ [๘๔๐] พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ เที่ยวไป พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น [๘๔๑] อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เธอคิดทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่สามารถเทียมทันได้เลย
ปสูรสูตรที่ ๘ จบ
๙. มาคันทิยสูตร๑-
ว่าด้วยมาคันทิยพราหมณ์
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่มาคันทิยพราหมณ์พร้อมภรรยาดังนี้) [๘๔๒] เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา ก็ไม่ได้มีความพอใจในเมถุนธรรมเลย จักมีความพอใจเพราะเห็นเรือนร่าง @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗๐-๘๒/๒๑๗-๒๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๐๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๙๙-๗๐๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=699&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=18847 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=18847#p699 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๙๙-๗๐๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]