ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๖๘๘-๖๙๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๒. คุหัฏฐกสูตร

เพราะอันตรายนั้น ทุกข์จึงติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าเรือรั่ว ฉะนั้น [๗๗๘] เพราะฉะนั้น สัตว์เกิด๑- พึงมีสติทุกเมื่อ ละกามทั้งหลายได้ ครั้นละกามเหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนคนวิดน้ำเรือแล้วไปถึงฝั่งได้ ฉะนั้น
กามสูตรที่ ๑ จบ
๒. คุหัฏฐกสูตร๒-
ว่าด้วยผู้ข้องอยู่ในถ้ำ
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ณ กรุงสาวัตถีดังนี้) [๗๗๙] นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำ๓- ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ เมื่อดำรงตนอยู่(อย่างนี้) ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง๔- ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย [๗๘๐] สัตว์เหล่านั้นมีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ มุ่งหวัง(กาม) ในกาลภายหลัง(อนาคต)หรือในกาลก่อน(อดีต) ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก(และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย @เชิงอรรถ : @ สัตว์เกิด หมายถึงนรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เป็นไปตามกรรม (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๖/๒๓) @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗-๑๔/๒๘-๖๗ @ ถ้ำ ในที่นี้หมายถึงร่างกาย (ขุ.สุ.อ. ๒/๗๗๙/๓๕๐) @ เหตุให้ลุ่มหลง ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗/๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๘๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๒. คุหัฏฐกสูตร

[๗๘๑] สัตว์เหล่านั้นยินดีขวนขวาย ลุ่มหลงในกามทั้งหลาย เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด ประสบทุกข์แล้วจึงคร่ำครวญอยู่ว่า เราจุติจากภพนี้ จักเป็นอะไรหนอ [๗๘๒] เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้๑- พึงรู้จักกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด ไม่พึงประพฤติผิดเพราะเหตุแห่งกรรมที่ผิดนั้น นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย [๗๘๓] เราเห็นหมู่สัตว์นี้ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย๒- กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนที่เลวผู้ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช [๗๘๔] พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว นรชนเห็นโทษนี้แล้วก็อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย พึงประพฤติไม่ยึดถือว่า เป็นของเรา [๗๘๕] นักปราชญ์พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน กำหนดรู้ผัสสะ๓- แล้ว ก็ไม่ติดใจ @เชิงอรรถ : @ คำว่า สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้ ดูรายละเอียดใน ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๐/๔๘-๔๙ @ ภพทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงกามภพ รูปภพ และอรูปภพ (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๑/๕๗) @ ผัสสะ หมายถึงความสัมผัสอารมณ์ที่มากระทบ เช่น ตากระทบกับรูป หรือตาเห็นรูป เรียกจักขุสัมผัส @เป็นต้น (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๓/๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๘๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

                                                                 ๓. ทุฏฐัฏฐกสูตร

ติเตียนกรรมใดด้วยตน ก็ไม่ทำกรรมนั้น ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว [๗๘๖] มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้ามโอฆะได้ ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
คุหัฏฐกสูตรที่ ๒ จบ
๓. ทุฏฐัฏฐกสูตร๑-
ว่าด้วยเรื่องเดียรถีย์กับมุนี
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระอานนท์ดังนี้) [๗๘๗] เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่วกล่าวร้าย บุคคลเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริงก็กล่าวร้ายด้วย แต่มุนีย่อมไม่ใส่ใจคำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น มุนีจึงไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิตในที่ไหนๆ [๗๘๘] ผู้ไปตามความพอใจ ตั้งอยู่ในความชอบใจ พึงก้าวล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แต่เมื่อทำตนให้เพียบพร้อม รู้อย่างไรก็พึงพูดอย่างนั้น [๗๘๙] สัตว์เกิดใดไม่มีใครถาม ก็บอกศีลและวัตรของตนแก่บุคคลเหล่าอื่น สัตว์เกิดใดกล่าวถึงตัวเองเท่านั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกสัตว์เกิดนั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม [๗๙๐] ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคำแปลพร้อมทั้งอธิบายใน ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕-๒๒/๗๔-๑๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๘๘-๖๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=688&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=18529 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=18529#p688 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๘๘-๖๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]