ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]

                                                                 ๑. ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตร

๘. ปาฏลิคามิยวรรค
หมวดว่าด้วยปาฏลิคาม
๑. ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกี่ยวกับนิพพาน สูตรที่ ๑
[๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ๑- มีอยู่ (แต่) ในอายตนะนั้นไม่มีปฐวีธาตุ ไม่มีอาโปธาตุ ไม่มีเตโชธาตุ ไม่มีวาโยธาตุ ไม่มีอากาสานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีอากิญจัญญายตนะ ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ทั้งสองนั้น @เชิงอรรถ : @ อายตนะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.อุ.อ. ๗๑/๔๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]

                                                                 ๒. ทุติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกอายตนะนั้นว่า มีการมา มีการไป มีการตั้งอยู่ มีการจุติ มีการอุบัติ อายตนะนั้นไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีอารมณ์ยึดเหนี่ยว นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์
ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกี่ยวกับนิพพาน สูตรที่ ๒
[๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพานอันไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมที่มีอยู่จริง ไม่เห็นได้ง่าย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลก็ไม่มีแก่ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
ทุติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]

                                                                 ๓. ตติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตร

๓. ตติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกี่ยวกับนิพพาน สูตรที่ ๓
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง จักไม่มี ในโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏภาวะสลัดออกจากธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่ปรากฏแล้ว ที่ถูกเหตุสร้างแล้ว ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่ ฉะนั้น จึงปรากฏภาวะสลัดออกจากธรรมชาติที่เกิดแล้ว ที่ปรากฏแล้ว ที่ถูกเหตุสร้างแล้ว ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ตติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]

                                                                 ๔. จตุตถนิพพานปฏิสังยุตตสูตร

๔. จตุตถนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกี่ยวกับนิพพาน สูตรที่ ๔
[๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย เมื่อความหวั่นไหว(จิต)ไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ๑- เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีตัณหา เมื่อไม่มีตัณหา ก็ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ก็ไม่มีการจุติและการอุบัติ เมื่อไม่มีการจุติและการอุบัติ ก็ไม่มีโลกนี้ โลกอื่น และระหว่างโลกทั้งสอง นี้คือที่สุดแห่งทุกข์
จตุตถนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ปัสสัทธิ หมายถึงความเข้าไปสงบกายและจิต (ขุ.อุ.อ. ๗๔/๔๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]

                                                                 ๕. จุนทสูตร

๕. จุนทสูตร๑-
ว่าด้วยนายจุนทกัมมารบุตร๒-
[๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ ได้เสด็จไปถึงเมืองปาวา ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนอัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตร นายจุนทกัมมารบุตรได้ฟังว่า “ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปใน แคว้นมัลละพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงเมืองปาวาแล้วประทับอยู่ ณ สวนอัมพวันของเรา” นายจุนทกัมมารบุตรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนท- กัมมารบุตรเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้น นายจุนทกัมมารบุตรผู้อัน พระผู้มีพระภาคตรัสชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี ครั้งนั้น นายจุนทกัมมารบุตรทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกขึ้นจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป ครั้นคืนนั้น ผ่านไป นายจุนทกัมมารบุตรสั่งให้คนจัดของขบฉันอย่างประณีต และสูกรมัททวะ๓- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๘๙-๑๙๗/๑๓๗-๑๔๗ @ บุตรของนายช่างทอง (ขุ.อุ.อ. ๗๔/๔๒๖) @ สูกรมัททวะ พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ดังนี้ คือ (๑) (สูกรมทฺทวนฺติ สูกรสฺส มุทุสินิทฺธํ ปวตฺตมํสํ) @หมายถึงเนื้อสุกรทั่วไปที่อ่อนนุ่ม (๒) (สูกเรหิ มทฺทิตวํสกฬีโร) หมายถึงหน่อไม้ชนิดหนึ่งที่สุกรแทะดุน @(๓) (สูกเรหิ มทฺทิตปฺปเทเส ชาตํ อหิฉตฺตกํ) หมายถึงเห็ดชนิดหนึ่งที่เกิดในถิ่นที่สุกรแทะดุน @(๔) (สูกรมทฺทวํ นาม เอกํ รสายตนํ) หมายถึงรสอาหารชนิดหนึ่งชื่อว่า สูกรมัททวะ (ขุ.อุ.อ. ๗๕/๔๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=321&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=8520 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=8520#p321 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]