ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๒๖๘-๒๗๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค]

                                                                 ๖. โสณสูตร

พุทธอุทาน
ยิ่งปิด ยิ่งรั่ว๑- เปิดแล้วไม่รั่ว๒- เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๓-
อุโปสถสูตรที่ ๕ จบ
๖. โสณสูตร๔-
ว่าด้วยพระโสณเถระ
[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระมหากัจจานะพักอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ เมืองกุรุรฆระ แคว้นอวันตี ครั้งนั้น อุบาสกชื่อโสณะ กุฏิกัณณะเป็นอุปัฏฐาก ของท่านพระมหากัจจานะ ครั้งนั้น อุบาสกชื่อโสณะ กุฏิกัณณะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง อย่างนี้ว่า “การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ครบถ้วน ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้ มิใช่กระทำได้ง่าย ทางที่ ดีเราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต” @เชิงอรรถ : @ ยิ่งปิด ยิ่งรั่ว หมายถึงภิกษุต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ ย่อมต้องอาบัติตัวอื่นใหม่อีก และต้องอาบัติมากขึ้น @เรื่อยๆ ฝนคืออาบัติหรือฝนคือกิเลส ย่อมรั่วรดจิตมากขึ้น (ขุ.อุ.อ. ๔๕/๓๒๗) @ เปิดแล้วไม่รั่ว หมายถึงภิกษุต้องอาบัติแล้ว เปิดเผยอาบัติแก่เพื่อนภิกษุแล้วแสดงออกจากอาบัติตาม @ธรรมตามวินัย จึงไม่ต้องอาบัตินั้น (ขุ.อุ.อ. ๔๕/๓๒๗) @ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๕/๒๘๕, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕ @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๕๗-๒๕๘/๓๒-๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๖๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค]

                                                                 ๖. โสณสูตร

ต่อมา เขาเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้น อยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ พรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะ แสดงธรรมไว้ มิใช่กระทำได้ง่าย ทางที่ดีเราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ามหากัจจานะโปรดให้กระผมบวช ด้วยเถิด ขอรับ” เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวกับเขาดังนี้ว่า “โสณะ การประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งต้องบริโภคอาหารมื้อเดียว นอนผู้เดียว๑- จนตลอดชีพ ทำได้ยาก แต่เอาเถอะ โสณะ ท่านเป็นคฤหัสถ์อยู่ที่บ้านนั่นแหละ จงหมั่นประพฤติ ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นพรหมจรรย์ที่ต้องบริโภคอาหาร มื้อเดียว นอนผู้เดียว ตามเวลาที่เหมาะสมเถิด๒-” ครั้งนั้น ความคิดที่น้อมไปเพื่อ บรรพชาของอุบาสกโสณะ กุฏิกัณณะ ระงับไป แม้ครั้งที่ ๒ อุบาสกโสณะ กุฏิกัณณะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง อย่างนี้ว่า “การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้ มิใช่กระทำได้ง่าย ทางที่ดีเราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต” แล้วเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้น อยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ @เชิงอรรถ : @ นอนผู้เดียว มิได้หมายถึงแต่เพียงอิริยาบถนอนอย่างเดียว แต่หมายถึงอิริยาบถอีก ๓ อิริยาบถด้วย คือ @ยืนผู้เดียว เดินผู้เดียว นั่งผู้เดียว ซึ่งจัดเป็นกายวิเวก (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๕๗/๓๖๐) @ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่อุบาสกจะพึงหมั่นประพฤติ ในส่วนเบื้องต้น คือ ศีล ๕ ที่จะต้องรักษาประจำ @ศีล ๘ ที่พึงรักษาในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และศีล ๑๐ (ถ้าสามารถ) และเจริญสมาธิปัญญา @ตามความเหมาะสมแก่ศีลที่รักษานั้นๆ (ขุ.อุ.อ. ๔๖/๓๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๖๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค]

                                                                 ๖. โสณสูตร

ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้ มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ามหากัจจานะโปรดให้กระผมบวชด้วยเถิด ขอรับ” ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับเขาดังนี้ว่า “โสณะ การประพฤติพรหมจรรย์ ซึ่งต้องบริโภคอาหารมื้อเดียว นอนผู้เดียวจนตลอดชีพ ทำได้ยาก แต่เอาเถอะ โสณะ ท่านเป็นคฤหัสถ์ยู่ที่บ้านนั่นแหละ จงหมั่นประพฤติตามคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นพรหมจรรย์ที่ต้องบริโภคอาหารมื้อเดียว นอนผู้เดียว ตามเวลาที่เหมาะสมเถิด” ครั้งนั้น ความคิดที่น้อมไปเพื่อบรรพชาของอุบาสกโสณะ กุฏิกัณณะ ระงับไป แม้ครั้งที่ ๓ อุบาสกโสณะ กุฏิกัณณะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง อย่างนี้ว่า “การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้ มิใช่กระทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต” แล้วเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กล่าวกับท่าน พระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง อย่างนี้ว่า ‘การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้ มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ามหากัจจานะโปรดให้กระผมบวชด้วยเถิด ขอรับ” ลำดับนั้น ท่านพระมหากัจจานะจึงให้อุบาสกโสณะ กุฏิกัณณะบวช ก็สมัยนั้น อวันตีทักขิณาบถมีภิกษุน้อย คราวนั้น ท่านพระมหากัจจานะจัดหาภิกษุสงฆ์จาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๗๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค]

                                                                 ๖. โสณสูตร

ที่นั้นๆ ให้ครบองค์ประชุมคือ ๑๐ รูปได้ยากลำบาก เวลาล่วงไปถึง ๓ ปี๑- จึงให้ ท่านโสณะอุปสมบทได้ สมัยนั้น ท่านพระโสณะออกพรรษาแล้ว หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิด คำนึงอย่างนี้ว่า “เราไม่เคยเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเฉพาะพระพักตร์เลย เพียงแต่ได้ยินว่า ‘พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีพระลักษณะเช่นนี้และเช่นนี้’ ถ้าพระอุปัชฌาย์อนุญาต เราจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น” ครั้งนั้นในเวลาเย็น ท่านพระโสณะออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระมหา- กัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า เราไม่เคยเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเฉพาะพระพักตร์เลย เพียงแต่ได้ยินว่า ‘พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีพระลักษณะเช่นนี้และเช่นนี้’ ถ้าพระอุปัชฌาย์ อนุญาต กระผมจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ โสณะ ท่านจงไปเข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด ท่านจะเห็นพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นผู้น่าเลื่อมใส ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส๒- มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ทรงบรรลุทมถะและสมถะ๓- สูงสุด ทรงฝึกฝนแล้ว คุ้มครองแล้ว @เชิงอรรถ : @ หมายถึงเวลาผ่านไป ๓ พรรษา นับจากวันที่บรรพชาเป็นสามเณร (วิ.อ. ๓/๒๕๗/๑๗๐) @ น่าเลื่อมใส หมายถึงมีพระรูปกายถึงพร้อมด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระ เพราะประดับด้วยมหาปุริส- @ลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ และพระเกตุมาลามีพระรัศมีแผ่ออกข้างละวา เป็น @ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส หมายถึงทรงถึงพร้อมด้วยกองธรรม เช่น พลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ @อสาธารณญาณ ๖ และพุทธธรรมเฉพาะอย่าง ๑๘ ประการ (ดู ที.ปา.อ. ๓/๓๐๕/๑๘๘-๑๘๙) @(ขุ.อุ.อ. ๑๐/๙๐, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๕๗/๓๖๓) @ ทมถะ หมายถึงปัญญาบ้าง ความสงบกายบ้าง สมถะ หมายถึงสมาธิบ้าง ความสงบจิตบ้าง @(วิ.อ. ๓/๒๕๗/๑๗๐) อีกนัยหนึ่ง ทมถะ หมายถึงโลกุตตรปัญญาวิมุตติ สมถะ หมายถึงโลกุตตรเจโตวิมุตติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๗๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค]

                                                                 ๖. โสณสูตร

ทรงสำรวมอินทรีย์ ทรงเป็นผู้ประเสริฐ ท่านครั้นเห็นแล้วจงถวายอภิวาทพระ- ยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จงทูลถามถึงสุขภาพ ความมี โรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำ ของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะ พระอุปัชฌาย์ของข้า พระองค์ ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า กราบทูล ถามถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ” ท่านพระโสณะรับคำของท่านพระมหากัจจานะแล้ว ชื่นชม ยินดีคำที่ท่าน พระมหากัจจานะกล่าวแล้ว ลุกจากอาสนะ ไหว้ท่านพระมหากัจจานะ ทำประทักษิณแล้ว จึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวร จาริกไปทางกรุงสาวัตถี เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ จนถึงพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี แล้วเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะพระอุปัชฌาย์ ของข้าพระองค์ ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า กราบทูลถามถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัย สมบูรณ์ อยู่สำราญ” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เธอเดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ บิณฑบาตไม่ลำบากหรือ” ท่านพระโสณะทูลตอบว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เดินทางมาโดยไม่ลำบาก ทั้งบิณฑบาตก็ไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า” ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้” ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิด ดังนี้ว่า “การที่พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ‘อานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุ อาคันตุกะรูปนี้’ สำหรับภิกษุรูปใด มีนัยให้รู้ว่าพระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๗๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค]

                                                                 ๖. โสณสูตร

ประทับอยู่ในพระวิหารหลังเดียวกับภิกษุรูปนั้น พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์ จะประทับอยู่ในพระวิหารหลังเดียวกับท่านพระโสณะ” จึงจัดเสนาสนะต้อนรับท่าน พระโสณะในพระวิหารอันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงทรงล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าพระวิหาร ฝ่ายท่านพระโสณะก็อยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงล้างเท้าแล้วเข้าพระ- วิหาร พอถึงเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้นแล้ว ทรงเชื้อเชิญท่านพระ โสณะว่า “ภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัดเถิด๑-” ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้สวดพระสูตรทั้งหมด ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรค๒- โดยทำนองสรภัญญะ เมื่อท่านพระโสณะสวดทำนองสรภัญญะจบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชื่นชม อย่างยิ่ง จึงได้ประทานสาธุการว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเล่าเรียนสูตร ๑๖ สูตรใน อัฏฐกวรรคมาดีแล้ว จำได้แม่นยำดี เปล่งเสียงสวดได้ไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีที่น่า ตำหนิ บอกความหมายได้ชัดเจน เธอมีพรรษาเท่าไร” ท่านพระโสณะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์บวชได้ ๑ พรรษา พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เพราะเหตุไร เธอจึงช้าอยู่เล่า” ท่านพระโสณะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์เห็นโทษในกามทั้งหลายนานแล้ว แต่ผู้อยู่ครองเรือนวุ่นวาย มีกิจมาก มีธุระมาก พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ หมายถึงจงกล่าวธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่เล่าเรียนมา (ขุ.อุ.อ. ๔๖/๓๓๔) @ ดู สุตตนิบาต ข้อ ๗๗๓-๙๘๒ ๒๕/๗๗๓-๙๘๒/๖๘๗-๗๓๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๗๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค]

                                                                 ๗. กังขาเรวตสูตร

พุทธอุทาน
อารยชนเห็นโทษในโลก๑- รู้ธรรมที่ไม่มีอุปธิ๒- จึงไม่ยินดีในบาป เพราะคนบริสุทธิ์ย่อมไม่ยินดีในบาป๓-
โสณสูตรที่ ๖ จบ
๗. กังขาเรวตสูตร
ว่าด้วยพระกังขาเรวตเถระ
[๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระกังขาเรวตะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิ๔- ของตนอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระกังขาเรวตะผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงพิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิของตนอยู่ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้หมายถึง สังขารโลก (ขุ.อุ.อ. ๔๖/๓๓๕) @ ธรรมที่ไม่มีอุปธิ หมายถึงนิพพาน (ขุ.อุ.อ. ๔๖/๓๓๖) @ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๕๘/๓๗ @ กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึงความบริสุทธิ์เพราะข้ามพ้นความสงสัยทั้งหมด (ขุ.อุ.อ. ๔๗/๓๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๗๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๖๘-๒๗๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=268&pages=7&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=7077 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=7077#p268 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๖๘-๒๗๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]