ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

                                                                 ๔. นิหุหุงกสูตร

พุทธอุทาน๑-
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นสาดส่องท้องฟ้าให้สว่างไสว ฉะนั้น
ตติยโพธิสูตรที่ ๓ จบ
๔. นิหุหุงกสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ตวาดว่า หึ หึ
[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงต้นอชปาลนิโครธ๒- ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งโดย บัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุขอยู่เป็นเวลา ๗ วัน ครั้นล่วงไป ๗ วัน พระผู้มีพระภาค ก็ทรงออกจากสมาธินั้น ครั้งนั้น พราหมณ์หุหุกชาติ๓- ผู้หนึ่ง ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พราหมณ์นั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระโคดม ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ และธรรมเหล่าไหนที่ทำ บุคคลให้เป็นพราหมณ์” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งด้วยอำนาจพิจารณามรรค พุทธอุทานที่ ๑-๓ นี้ ทรงเปล่งในราตรีที่ ๗ นับแต่วัน @ตรัสรู้ (ขุ.อุ.อ. ๑/๕๒-๕๓) @ นิโครธ แปลว่า ต้นไทร ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Banyan” หรือ “Indian Fig-tree” ไม้จำพวกไทร หรือ @กร่างของอินเดีย พวกคนเลี้ยงแพะชอบมานั่งที่ร่มเงาของต้นนิโครธนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อชปาลนิโครธ @(ขุ.อุ.อ. ๑/๕๓, Pali-English Dictionary, P.355, Edited by T.W. RHYS DAVIDS and WILLIAM STEDE) @ พราหมณ์หุหุกชาติ เป็นพราหมณ์โดยชาติกำเนิด พราหมณ์นี้มีทิฏฐิว่า “สิ่งที่เห็นแล้วเป็นมงคล” ชอบ @เที่ยวตวาดว่า หึหึ เพราะความถือตัวและเพราะความโกรธ (ขุ.อุ.อ. ๑/๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

                                                                 ๕. พราหมณสูตร

พุทธอุทาน
พราหมณ์ใดลอยบาปธรรมได้แล้ว ไม่ตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด สำรวมตน เรียนจบเวท๑- อยู่จบพรหมจรรย์ พราหมณ์นั้นไม่มีกิเลสเครื่องฟู๒- ขึ้นในอารมณ์ไหนๆ ในโลก ควรกล่าวพรหมวาทะ๓- ได้โดยธรรม๔-
นิหุหุงกสูตรที่ ๔ จบ
๕. พราหมณสูตร
ว่าด้วยความเป็นพราหมณ์
[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระ มหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ และท่านพระ นันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา” เมื่อพระ @เชิงอรรถ : @ เรียนจบเวท หมายถึงบรรลุนิพพานด้วยเวทกล่าวคือมัคคญาณทั้ง ๔ (โสดาปัตติมัคคญาณ @สกทาคามิมัคคญาณ อนาคามิมัคคญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. ๔/๕๗) @ กิเลสเครื่องฟูขึ้น หมายถึงราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ (ขุ.อุ.อ. ๔/๕๗) @ พรหมวาทะ ในที่นี้หมายถึงวาทะว่า “เราเป็นพราหมณ์” (ขุ.อุ.อ. ๔/๕๗) @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๔/๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=176&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=4527 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=4527#p176 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗๖-๑๗๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]