ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

หน้าที่ ๑๐๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๘. มลวรรค ๒. อัญญตรพราหมณวัตถุ

[๒๓๖] ท่านนั้นจงทำที่พึ่ง๑- แก่ตนเอง จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านขจัดมลทินได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน จะเข้าถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์๒- [๒๓๗] บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยถูกนำเข้าไปแล้ว๓- เตรียมจะไปสำนักพระยายม ที่พักระหว่างทางของท่านยังไม่มี และแม้แต่เสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มีเลย [๒๓๘] ท่านนั้นจงทำที่พึ่งแก่ตนเอง จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านขจัดมลทินได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ก็จะไม่ต้องเข้าถึงชาติ และชราอีกต่อไป
๒. อัญญตรพราหมณวัตถุ
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์ผู้ทำกุศลอยู่บ่อยๆ ดังนี้) [๒๓๙] ผู้มีปัญญา พึงกำจัดมลทิน๔- ของตน ทีละน้อย ทุกขณะ โดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง ฉะนั้น๕- @เชิงอรรถ : @ ที่พึ่ง หมายถึงกุศลกรรม (ขุ.ธ.อ. ๗/๔) @ อริยภูมิอันเป็นทิพย์ ในที่นี้หมายถึงสุทธาวาสภูมิ ที่อยู่ของพระอนาคามี มี ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา @สุทัสสีและอกนิฏฐา (ขุ.ธ.อ. ๗/๔, ที.ปา. ๑๑/๓๑๘/๒๑๑) @ มีวัยถูกนำเข้าไปแล้ว หมายถึงล่วงวัยทั้ง ๓ ใกล้จะถึงอายุขัยแล้ว (ขุ.ธ.อ. ๗/๕) @ มลทิน หมายถึงกิเลสมีราคะเป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๗/๘) @ ดูเทียบ อภิ.ก. ๓๗/๒๗๘/๑๐๒, ๓๔๖/๑๘๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๐๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๐๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=25&page=106&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=2722 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=2722#p106 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]