ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๔๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. มหาวรรค ๑. สีหนาทสูตร

๓. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. สีหนาทสูตร๑-
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออก จากที่อาศัยแล้วบิดกาย ชำเลืองดูรอบๆ ทั้ง ๔ ทิศ บันลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้วก็ หลีกไปหากิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมันคิดว่า ‘เราอย่าทำให้สัตว์เล็กๆ ที่หากิน อยู่ในที่ไม่สม่ำเสมอต้องถูกฆ่าเลย๒-’ คำว่า สีหะ นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อาการที่ตถาคต แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นสีหนาทของตถาคตแท้ กำลังของตถาคต ๑๐ ประการนี้ที่ตถาคตประกอบแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญญา- ฐานะที่องอาจ๓- บันลือสีหนาท๔- ประกาศพรหมจักร๕- ในบริษัท๖- @เชิงอรรถ : @ ดู ม.มู. ๑๒/๑๔๘/๑๐๗-๑๑๐, องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๖๔/๓๙๘ @ ข้อความนี้อรรถกถาอธิบายว่า พญาราชสีห์บันลือสีหนาท เพราะมีความเอ็นดูต่อสัตว์เล็กๆ มีกำลังน้อย @ที่หากินอยู่ในที่ไม่ราบเรียบ ขรุขระ (วิ่งหนีไม่สะดวก) เมื่อมีความหวาดกลัว จะได้วิ่งหนีทันก่อนที่พญา @ราชสีห์จะไปถึง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๕) @ ฐานะที่องอาจ (อาสภะ) อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงฐานะที่ประเสริฐที่สุด ที่สูงสุด หรือฐานะของ @พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดในปางก่อน @อนึ่ง คำว่า อาสภะ มาจากคำว่า อุสภะ เป็นชื่อโคจ่าฝูงของโคจำนวนมากตั้ง ๑๐๐ ตัว ๑,๐๐๐ ตัว ๑๐๐ @คอก ๑,๐๐๐ คอก มีสีขาว น่าดู มีกำลังสามารถนำภาระหนักยิ่งไปได้ ยืนหยัดด้วยเท้าทั้ง ๔ ไม่หวั่นไหว @ต่อเสียงฟ้าร้องตั้ง ๑๐๐ ครั้ง พระตถาคตเปรียบเหมือนโคอุสภะ คือ ประทับยืนข่มบริษัททั้ง ๘ ได้อย่าง @มั่นคงด้วยพระบาท (ฐานะ) คือ เวสารัชชญาณ ๔ ประการ ไม่มีปัจจามิตรใดในโลกและเทวโลกที่สามารถ @ทำให้พระองค์หวั่นไหวได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๖) @ บันลือสีหนาท หมายถึงตรัสพระวาจาด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรงมั่น @พระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๑/๔๐๓/๔๓๒) @ พรหมจักร หมายถึงธรรมจักรอันประเสริฐ ยอดเยี่ยม บริสุทธิ์ มี ๒ ประการ คือ (๑) ปฏิเวธญาณ ได้แก่ @ญาณที่แสดงถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า (๒) เทสนาญาณ ได้แก่ ญาณที่แสดงถึงพระมหากรุณา @คุณของพระพุทธเจ้า ญาณทั้ง ๒ นี้ชื่อว่าโอรสญาณ(ญาณส่วนพระองค์) มีเฉพาะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย @เท่านั้น ไม่มีแก่คนทั่วไป (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๗) @ บริษัท หมายถึงหมู่, คณะ, ที่ประชุม ในที่นี้หมายถึงบริษัท ๘ คือ (๑) ขัตติยบริษัท (๒) พราหมณบริษัท @(๓) คหบดีบริษัท (๔) สมณบริษัท (๕) จาตุมหาราชิกาบริษัท (๖) ตาวติงสบริษัท (สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ @๖ ชั้น) (๗) มารบริษัท (๘) พรหมบริษัท (ที.สี.อ. ๔๐๓/๒๙๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=43&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=1213 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=1213#p43 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]