ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๓๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. นาถกรณวรรค ๗. ปฐมนาถสูตร

๗. ปฐมนาถสูตร
ว่าด้วยนาถกรณธรรม สูตรที่ ๑
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง อยู่เลย บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ นาถกรณธรรม(ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) ๑๐ ประการนี้ นาถกรณธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๑- เพียบพร้อมด้วยอาจาระ๒- (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๓- สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด @เชิงอรรถ : @ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา @ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ @หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗) @ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทาง @วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือการไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิด ที่พระพุทธเจ้ารังเกียจ เช่น ไม่เลี้ยง @ชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่าคฤหัสถ์ @ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๘) @โคจร หมายถึงสถานที่เที่ยวไปของภิกษุซึ่งไม่มีหญิงแพศยา(โสเภณี) ไม่มีหญิงหม้าย ไม่มีสาวเทื้อ(สาวแก่) @ไม่มีบัณเฑาะก์ ไม่มีภิกษุณี ไม่มีร้านสุรา ไม่เป็นสถานที่ต้องคลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ และ @พวกเดียรถีย์ ตรงกันข้าม ต้องเป็นสถานที่ของตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้า @กาสาวะ อบอวลด้วยกลิ่นฤๅษี ใคร่ความผาสุกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นสถานที่ที่ภิกษุ @สำรวมอินทรีย์ ๖ งดเว้นการขวนขวายในการดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อกุศล เช่น การฟ้อน ขับร้อง @ประโคมดนตรี หรือหมายถึงสติปัฏฐาน ๔ (ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๔, วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗-๑๘) @ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) คือ (๑) สุตตะ(พระสูตรทั้งหลายรวม @ทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (๒) เคยยะ(ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถา @ทั้งหมด) (๓) เวยยากรณะ(ความร้อยแก้ว) (๔) คาถา(ข้อความร้อยกรอง) (๕) อุทาน(พระคาถาพุทธอุทาน) @(๖) อิติวุตตกะ พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง (๗) ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) (๘) อัพภูตธรรม(เรื่องอัศจรรย์) @(๙) เวทัลละ(พระสูตรแบบถาม-ตอบ) ดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖/๗, องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๗๓/๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=31&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=860 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=860#p31 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]