ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๒๔๗-๒๔๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. สมณสัญญาวรรค ๕. วิชชาสูตร

๕. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย อวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง)เป็นประธานแห่งการเข้าถึง อกุศลธรรม อหิริ(ความไม่อายบาป) อโนตตัปปะ(ความไม่กลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย ๑. ผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้ง ย่อมมีมิจฉาทิฏฐิ ๒. ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ ๓. ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีมิจฉาวาจา ๔. ผู้มีมิจฉาวาจา ย่อมมีมิจฉากัมมันตะ ๕. ผู้มีมิจฉากัมมันตะ ย่อมมีมิจฉาอาชีวะ ๖. ผู้มีมิจฉาอาชีวะ ย่อมมีมิจฉาวายามะ ๗. ผู้มีมิจฉาวายามะ ย่อมมีมิจฉาสติ ๘. ผู้มีมิจฉาสติ ย่อมมีมิจฉาสมาธิ ๙. ผู้มีมิจฉาสมาธิ ย่อมมีมิจฉาญาณะ ๑๐. ผู้มีมิจฉาญาณะ ย่อมมีมิจฉาวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย วิชชา(ความรู้แจ้ง)เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย หิริ(ความอายบาป)และโอตตัปปะ(ความกลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย ๑. ผู้มีวิชชาเห็นแจ้ง ย่อมมีสัมมาทิฏฐิ ๒. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ ๓. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา ๔. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ ๕. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ ๖. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๔๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. สมณสัญญาวรรค ๖. นิชชรสูตร

๗. ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ ๘. ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ ๙. ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาญาณะ ๑๐. ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมมีสัมมาวิมุตติ
วิชชาสูตรที่ ๕ จบ
๖. นิชชรสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความเสื่อม
[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเสื่อม ๑๐ ประการนี้ เหตุแห่งความเสื่อม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่ เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ๒. เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็น อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศล- ธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ๓. เมื่อมีสัมมาวาจา มิจฉาวาจาย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก ที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอัน มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย ๔. เมื่อมีสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็น อันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศล- ธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๔๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๔๗-๒๔๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=247&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=7098 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=7098#p247 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๗-๒๔๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]