ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๒๓๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๕. อุปาสกวรรค ๙. อุปาลิสูตร

คหบดี หรือบุตรคหบดีผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ฟังธรรมนั้นแล้ว ได้ศรัทธาในตถาคต ได้ศรัทธาแล้วพิจารณาเห็นว่า ‘ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมา แห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรจะ ปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ สมัยต่อมา เขาได้ละกองโภคทรัพย์น้อยใหญ่ เครือญาติน้อยใหญ่แล้ว ปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๑- เสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความ เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่ เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ เป็นผู้ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่าง ไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ เป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลาย ฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วย ประโยชน์เหมาะแก่เวลา @เชิงอรรถ : @ สิกขา หมายถึงไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา สาชีพ หมายถึงสิกขาบท @ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ ๑ หน้า ๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๓๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๓๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=235&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=6757 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=6757#p235 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๓๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]