ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๒๐๐-๒๐๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร

๙. โกกาลิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุชื่อว่าโกกาลิกะ
[๘๙] ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความ ปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าว อย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตร และโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก” แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ ทรงมีพระ- พุทธพจน์ที่ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็ยังเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าว อย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและ โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก” แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ ทรงมีพระพุทธพจน์ที่ข้า พระองค์เชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ยังเป็นผู้มี ความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่าง นั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและ โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก” ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ ประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปไม่นาน ร่างกายก็มีตุ่มขนาดเท่า เมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิดขึ้นทั่วร่าง ตุ่มเหล่านั้นโตเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด แล้วก็โตเท่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร

เมล็ดถั่วเขียว โตเท่าเมล็ดถั่วดำ โตเท่าเมล็ดพุทรา โตเท่าเมล็ดกระเบา โตเท่าผล มะขามป้อม โตเท่าผลมะตูมอ่อน โตเท่าผลมะตูมแก่ แล้วก็แตกเยิ้ม หนองและเลือด หลั่งไหลออกมา ได้ทราบว่าโกกาลิกภิกษุนั้นนอนบนใบตอง เหมือนปลากินยาพิษ ครั้งนั้นแล ตุทิปัจเจกพรหม๑- เข้าไปหาโกกาลิกภิกษุถึงที่อยู่ ยืนอยู่กลาง อากาศกล่าวกับโกกาลิกภิกษุว่า “ท่านโกกาลิกะ ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสในท่าน พระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเถิด เพราะท่านพระสารีบุตรและท่านพระ โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก” โกกาลิกภิกษุถามว่า “ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร” ตุทิปัจเจกพรหมตอบว่า “เราเป็นตุทิปัจเจกพรหม” โกกาลิกภิกษุถามว่า “ผู้มีอายุ ท่านได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า เป็นอนาคามีแล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนท่านจึงมาที่นี้อีก ท่านจงเห็นว่าความ ผิดนี้ของท่านมีอยู่เถิด” ลำดับนั้น ตุทิปัจเจกพรหม จึงได้กล่าวกับโกกาลิกภิกษุด้วยคาถาว่า ผรุสวาจา(คำหยาบ)เป็นเหมือนผึ่ง เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น การปราชัยด้วยทรัพย์ ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย @เชิงอรรถ : @ ตุทิปัจเจกพรหม คือ พระตุทิเถระผู้เป็นอุปัชฌาย์ของพระโกกาลิกะ ซึ่งบรรลุอนาคามิผลแล้วไปบังเกิดใน @พรหมโลก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร

แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป๑- กับอีก ๕ อัพพุทกัป ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุได้มรณภาพด้วยอาพาธนั้นเองแล้วไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ครั้นปฐมยามผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงามยิ่ง ทำพระเชตวัน วิหารทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน อยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระ สารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ พระพุทธเจ้าข้า” ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลดังนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ ประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ครั้นราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย คืนนี้เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงามยิ่ง ทำ พระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วไปเกิดใน ปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ” ภิกษุทั้งหลาย ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรา ทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ” @เชิงอรรถ : @ นิรัพพุทกัป เป็นจำนวนกัปที่ใช้สังขยา(การกำหนดนับ)จำนวนสูง (ตามนัย องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖) @พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค ๙. โกกาลิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก ประมาณอายุในปทุมนรกนั้นยากที่จะนับได้ว่า ‘ประมาณเท่านี้ปี ประมาณ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านี้” ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พอจะยกอุปมาได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงา ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี๑- ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออก จากเกวียนนั้นหนึ่งเมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารี นั้นจะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก๒- หาหมดไปไม่ ๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อพัพพนรก ๒๐ อพัพพนรก เป็น ๑ อุหหนรก ๒๐ อุหหนรก เป็น ๑ อัฏฏนรก ๒๐ อัฏฏนรก เป็น ๑ กุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก ๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปปลนรก ๒๐ อุปปลนรก เป็น ๑ ปุณฑริกนรก ๒๐ ปุณฑริกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก ภิกษุ โกกาลิกภิกษุไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในสารีบุตร และโมคคัลลานะ” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า @เชิงอรรถ : @ ๔ กุฑุวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ) @๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ @๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ @๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา @๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี @๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ @๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ @๑๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ @๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา @๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ @(อภิธา.ฏี. คาถา ๔๘๐-๔๘๔) @ อัพพุทนรก นิรัพพุทนรก อพัพพนรก อุหหนรก อัฏฏนรก กุมุทนรก โสคันธิกนรก อุปปลนรก ปุณฑริกนรก @ปทุมนรก ทั้งหมดนี้ อยู่ในอเวจีมหานรก เป็นนรกเล็กอยู่ในนรกใหญ่ ไม่มีภูมิเป็นของตนเอง แต่เป็นที่ซึ่ง @สัตว์จะต้องรับกรรม เช่น อัพพุทนรก เป็นสถานที่ทรมานสัตว์โดยการนับชิ้นเนื้อเป็นเครื่องบอกระยะเวลา @ในการทรมานสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค ๑๐. ขีณาสวพลสูตร

ผรุสวาจาเป็นเหมือนผึ่ง เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น การปราชัยด้วยทรัพย์ ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป กับอีก ๕ อัพพุทกัป
โกกาลิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ขีณาสวพลสูตร๑-
ว่าด้วยกำลังของพระขีณาสพ
[๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “สารีบุตร ภิกษุขีณาสพมีกำลังเท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว” @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๒๘/๑๘๓-๑๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๐๐-๒๐๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=200&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=5712 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=5712#p200 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๐-๒๐๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]