ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ยมกวรรค ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร

ได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย เปรียบเหมือน เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในกาฬปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเสื่อม จากความงาม ย่อมเสื่อมจากรัศมี ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากด้านยาว และด้านกว้าง ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญา ... มีการเงี่ยโสตฟังธรรม ... มีการทรงจำธรรม ... มีการพิจารณาเนื้อความ แห่งธรรม ... มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ... มีความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความ เจริญ อย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความเจริญ อย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย เปรียบเหมือนเมื่อกลางคืนหรือ กลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยความงาม ย่อมเจริญด้วยรัศมี ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง
ทุติยนฬกปานสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยกถาวัตถุ สูตรที่ ๑
[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตใน เวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาติรัจฉานกถา๑- ต่างๆ คือ (๑) ราช- กถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหาอำมาตย์ (๔) เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา เรื่องการรบ @เชิงอรรถ : @ ติรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ @ถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (ที.สี.อ. ๑๗/๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๕๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ยมกวรรค ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร

(๗) อันนกถา เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องน้ำ (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า (๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน (๑๑) มาลากถา เรื่องดอกไม้ (๑๒) คันธกถา เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม (๑๗) นครกถา เรื่องนคร (๑๘) ชนปทกถา เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี (๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา เรื่องคนกล้า (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก (๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ (๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด (๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (๒๗) สมุททักขายิกะ เรื่อง ทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑- เข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรที่เธอ ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้า พระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาติรัจฉานกถาต่างๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่อง โจร ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่สมควรเลยที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุล บุตรมีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตสนทนาติรัจฉานกถาต่างๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหาอำมาตย์ (๔) เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา เรื่องการรบ (๗) อันนกถา เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องน้ำ (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า (๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน (๑๑) มาลากถา เรื่องดอกไม้ (๑๒) คันธกถา เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๐ (ภัณฑนสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๕๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ยมกวรรค ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร

(๑๗) นครกถา เรื่องนคร (๑๘) ชนปทกถา เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี (๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา เรื่องคนกล้า (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก (๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ (๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด (๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (๒๗) สมุททักขายิกะ เรื่องทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้ กถาวัตถุ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย) ๒. สันตุฏฐิกถา (เรื่องความสันโดษ) ๓. ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด) ๔. อสังสัคคกถา (เรื่องความไม่คลุกคลี) ๕. วีริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร) ๖. สีลกถา (เรื่องศีล) ๗. สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ) ๘. ปัญญากถา (เรื่องปัญญา) ๙. วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ) ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้ ความเห็นในวิมุตติ) ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย หากเธอทั้งหลายจะพึงยกกถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้อย่างใดอย่าง หนึ่งขึ้นมากล่าว เธอทั้งหลายก็จะสามารถครอบงำเดชานุภาพของดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยเดชานุภาพของตนได้ ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายเลย
ปฐมกถาวัตถุสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๕๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=150&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=4274 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=4274#p150 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]