ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๔๖๔-๔๖๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สีหนาทวรรค ๖. สัญญาสูตร

๕. คัณฑสูตร
ว่าด้วยฝีมีปากแผล ๙ แห่ง
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ฝีที่เกิดมาได้หลายปี มีปากแผลที่ไม่แตก ๙ แผล เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออกแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้าแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ‘ฝี’ นี้เป็นชื่อของกายที่สำเร็จมาจากมหาภูตรูป ๔ นี้ ที่มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตมาด้วยข้าวสุกและขนม มีความไม่เที่ยง มีการ ไล้ทาบีบนวดแตกสลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กายนั้นมีปากแผลที่ ไม่แตก ๙ แผล เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออก แต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้า แต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรเบื่อหน่ายในกายนี้
คัณฑสูตรที่ ๕ จบ
๖. สัญญาสูตร๑-
ว่าด้วยสัญญา
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒- มีอมตะเป็นที่สุด สัญญา ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา) @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓ @ อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๖๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. สีหนาทวรรค ๗. กุลสูตร

๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน โลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง แห่งสังขาร) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญาสูตรที่ ๖ จบ
๗. กุลสูตร๑-
ว่าด้วยตระกูล
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่ เคยเข้าไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้ องค์ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ ตระกูล ๑. ต้อนรับด้วยความไม่เต็มใจ ๒. ไหว้ด้วยความไม่เต็มใจ ๓. ให้อาสนะด้วยความไม่เต็มใจ ๔. ปกปิดของที่มีอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดู สัตตกนิบาต ข้อ ๑๓ (กุลสูตร) หน้า ๑๙-๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๖๔-๔๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=464&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=12994 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=12994#p464 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๖๔-๔๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]