ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๔๒๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๑. สัมโพธิวรรค ๑. สัมโพธิสูตร

ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ ๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ๑- ๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท๒- ๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก๓- ๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ๔- ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้ อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน
สัมโพธิสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ เจริญอสุภะเพื่อละราคะ หมายถึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานเพื่อข่มกามราคะที่เกิดขึ้นเพราะความประมาท @ขาดสติสังวรไม่รู้เท่าทันเป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป เปรียบเทียบได้กับกระบวนการ @ของการเกี่ยวข้าว คือ ขณะที่ชาวนาเกี่ยวข้าวอยู่นั้นมีฝูงโคทำลายรั้วเข้ามาในนาได้ ชาวนาจำต้องวางเคียว @ไว้ก่อน แล้วถือไม้เรียวไปไล่ฝูงโคออกไปแล้วกลับมาซ่อมรั้วให้ดี จากนั้นจึงถือเคียวเกี่ยวข้าวต่อ ผู้บำเพ็ญ @เพียรเหมือนชาวนา ปัญญาเหมือนเคียว เวลาบำเพ็ญเหมือนเวลาเกี่ยวข้าว อสุภกัมมัฏฐานเหมือนไม้เรียว @สติสังวรเหมือนรั้ว ราคะเหมือนฝูงโค (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕) @ เจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท หมายถึงเจริญเมตตากัมมัฏฐานเพื่อละความโกรธที่เกิดขึ้น @(องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๖) @ ดู ม.ม. ๑๓/๑๔๑/๙๕-๙๖, ม.อุ. ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑, สํ.ม. ๑๙/๙๗๗/๒๖๙ @องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๐/๑๓๑-๑๓๒) @ อัสมิมานะ หมายถึงมานะ (ความถือตัวเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา @ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา @(๔) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัว @ว่าด้อยกว่าเขา (๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา @(๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙, องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๖) และดู @อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๒๓๙/๓๑๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๓๒/๕๓๖, ๘๖๖-๘๗๗/๕๕๔-๕๕๘, ๙๖๒/๖๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๒๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=428&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=11938 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=11938#p428 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๒๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]