ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๓๖๐-๓๖๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ๒. ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความ หมายได้ ๓. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๒. อลังสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟัง แล้วไว้ได้ แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ๒. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว แต่ไม่มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว ไว้ได้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ไม่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ๒. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
อลังสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๓. สังขิตตสูตร

๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ
[๖๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ โดยที่เมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างที่ เขาทำกันมา และเมื่อเราแสดงธรรมแล้ว ก็คอยติดตามเราเรื่อยไป” ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรด แสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ทำอย่างไร ข้าพระองค์จึงจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค ทำอย่างไรข้าพระองค์ จึงจะเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะฉะนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วจัก ครอบงำจิตไม่ได้อยู่’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เมื่อใดแล จิตของเธอตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วจักครอบงำจิตไม่ได้อยู่ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมตตา- เจโตวิมุตติจักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๓. สังขิตตสูตร

อย่างนี้ว่า ‘มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขา- เจโตวิมุตติ จักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียก อย่างนี้แล เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอ พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอพึงสำเหนียก อย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๔. คยาสีสสูตร

เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะเดินไปที่ใดๆ ก็เดินไปได้อย่างผาสุกในที่นั้นๆ จะยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็ยืนอยู่ ได้อย่างผาสุกในที่นั้นๆ จะนั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็นั่งอยู่ได้อย่างผาสุกในที่นั้นๆ จะนอน อยู่ในที่ใดๆ ก็นอนอยู่อย่างผาสุกในที่นั้นๆ๑-” ภิกษุนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป เธอจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
สังขิตตสูตรที่ ๓ จบ
๔. คยาสีสสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่คยาสีสะ
[๖๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ เขตเมืองคยา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ๑. ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ เรารู้โอภาส๒- แต่ไม่ เห็นรูปทั้งหลาย ๒. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะ๓- นี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงผู้บรรลุอรหัตตผลย่อมอยู่อย่างผาสุกทุกอิริยาบถ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๓/๒๗๐) @ โอภาส ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐) @ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทัสสนะคือญาณที่เป็นทิพพจักษุ ในสูตรนี้กล่าวถึงญาณ ๘ คือ (๑) ทิพพจักขุ- @ญาณ (๒) อิทธวิธญาณ (๓) เจโตปริยญาณ (๔) ยถากัมมูปคญาณ (๕) อนาคตังสญาณ (๖) ปัจจุปปันนังส- @ญาณ (๗) อตีตังสญาณ (๘) ปุพเพนิวาสญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๔. คยาสีสสูตร

สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่ รู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย แต่เราไม่ได้ยืนเจรจาปราศรัย กับเทวดาเหล่านั้น ๓. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย และยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณ- ทัสสนะนี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’ สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย และยืนเจรจาปราศรัยกับ เทวดาเหล่านั้น แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดานี้มาจากเทพ นิกายโน้นๆ’ ๔-๗. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจา ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้ มาจากเทพนิกายโน้นๆ’ ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ของเรา ก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’ สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดา เหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มาจากเทพ นิกายโน้นๆ’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ ฯลฯ รู้จัก เทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจาก ภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วย วิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์ อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้’ แต่ไม่รู้จัก เทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นาน อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วม หรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๔. คยาสีสสูตร

๘. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจา ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้ มาจากเทพนิกายโน้นๆ’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่ง กรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ รู้จัก เทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์ อย่างนี้’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้’ และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วม หรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’ ญาณทัสสนะนี้ของเราก็จะ บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’ สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดา เหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้ มาจากเทพ นิกายโน้นๆ’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ รู้จักเทวดา เหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้ นานอย่างนี้’ และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคย อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’ อธิเทวญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นเกี่ยวกับเทวดาผู้ยิ่ง)ของเรา ๘ ขั้นอย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอด เยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อธิเทวญาณทัสสนะของเรา ๘ ขั้นอย่างนี้หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ‘เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก’
คยาสีสสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๕. อภิภายตนสูตร

๕. อภิภายตนสูตร
ว่าด้วยอภิภายตนะ
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ๑- ๘ ประการนี้ อภิภายตนะ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒- เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดี หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๑ ๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๒ ๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๓- เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดี หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๓ ๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๔ ๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๕ @เชิงอรรถ : @ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำปัจจนีกธรรม @คือนิวรณ์ ๕ และอารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ @และชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย และเพราะเป็นมนายตนะและ @ธัมมายตนะ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก. ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒, ที.ม.อ. ๒/๑๗๓/๑๖๔) และดู @ที.ม. ๑๐/๑๗๓/๙๘, ที.ปา. ๑๑/๓๓๘/๒๒๙-๒๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๔๙/๒๒๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๑ @ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน ยังไม่ถึงอัปปนา @(องฺ.อฏฺฐก. อ. ๓/๖๕/๒๗๐) @ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงปราศจากบริกรรมอรูปภายใน เพราะไม่ให้รูปสัญญาเกิดขึ้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ภูมิจาลวรรค ๖. วิโมกขสูตร

๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๖ ๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๗ ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๘ ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล
อภิภายตนสูตรที่ ๕ จบ
๖. วิโมกขสูตร
ว่าด้วยวิโมกข์
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์๑- ๘ ประการนี้ วิโมกข์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มีรูป๒- เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๑ ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ วิโมกข์(ความหลุดพ้น) หมายถึงภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งไปในอารมณ์นั้นๆ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๖/๒๗๒) ดู ที.ม. ๑๐/๑๒๙/๖๓, ๑๗๔/๑๐๐, ที.ปา ๑๑/๓๓๙/๒๓๑, ๓๕๘/๒๗๑-๒๗๒, @ม.ม. ๑๓/๒๔๘/๒๒๓-๒๒๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๐-๕๓๑ @ มีรูป ในที่นี้หมายถึงได้รูปฌานที่เกิดจากอาการทำบริกรรมในรูปภายในตน เช่น ทำบริกรรมผม เหงื่อ เนื้อ @เลือด กระดูก ฟัน เล็บ โดยวิธีการบริกรรมเป็นสีต่างๆ มีสีเขียว เหลือง แดง เป็นต้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, ๖๖/๒๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๖๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๖๐-๓๖๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=360&pages=9&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=10048 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=10048#p360 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖๐-๓๖๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]